6 ข้อผิดพลาดในห้องครัว หญิงป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร นิสัยเล็กๆ ที่เหมือนวางยาพิษตัวเองทุกวันโดยไม่รู้ตัว
คุณลี่ วัย 50 ปี จากประเทศจีน ไม่เคยคาดคิดว่าอาหารที่เธอใส่ใจทำให้ครอบครัวกินทุกวัน จะกลายเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพ จนกระทั่งวันหนึ่งที่เธอทนกับอาการปวดท้องไม่ไหว และเมื่อไปตรวจ กลับต้องพบกับคำว่า “มะเร็งกระเพาะอาหาร” บนใบวินิจฉัย คำที่ทำให้เธอทรุดลงทันที
สามีของเธอน้ำตาคลอ พูดด้วยเสียงสั่นว่า "ถ้าผมเตือนเธอให้เลิกนิสัยพวกนั้นตั้งแต่แรกก็คงไม่เป็นแบบนี้..."
6 พฤติกรรมในครัว ที่ไม่ต่างจาก “วางยาตัวเอง”
-
รอให้น้ำมันควันขึ้นก่อนใส่อาหาร
เมื่อความร้อนสูงเกิน 200°C น้ำมันจะเริ่มปล่อยควัน และสร้างสารก่อมะเร็งอย่าง benzo(a)pyrene
ทางแก้: ควรตั้งกระทะให้ร้อนก่อน แล้วค่อยใส่น้ำมันที่ยังไม่ร้อน หรือทดสอบด้วยการจุ่มปลายตะเกียบ ถ้ามีฟองเล็ก ๆ ก็พร้อมปรุงอาหารแล้ว -
ใช้น้ำมันทอดซ้ำหลายครั้ง
น้ำมันที่ผ่านการใช้ซ้ำ แม้ดูใส แต่จริง ๆ แล้วถูกออกซิไดซ์และเกิดสารก่อมะเร็ง
ทางแก้: ไม่ควรใช้น้ำมันเกิน 2 ครั้ง ควรกรองเก็บในภาชนะปิดสนิทและแช่ตู้เย็น -
ใช้เขียงเดียวกันทั้งของดิบและของสุก
เสี่ยงต่อการปนเปื้อนข้าม และหากใช้เขียงไม้เกิน 3 ปี แบคทีเรียอาจมากกว่าชักโครกถึง 200 เท่า!
ทางแก้: แยกเขียงอย่างน้อย 3 อัน (ของดิบ / ของสุก / ผักผลไม้) ลางทุกครั้งหลังใช้ และล้างด้วยเกลือ+มะนาวเดือนละครั้ง -
ปิดเครื่องดูดควันทันทีหลังทำอาหาร
ไอระเหยจากน้ำมันยังลอยอยู่ พร้อมสารพิษอย่าง PAH ที่เกาะผนัง-ตู้ และ PM2.5 ที่อาจสูงกว่าค่าปลอดภัยถึง 12 เท่า
ทางแก้: เปิดเครื่องดูดควันต่ออีก 3–5 นาทีหลังทำอาหาร และใช้เครื่องฟอกอากาศร่วมด้วย -
ไม่เปลี่ยนผ้าเช็ดจาน/ฟองน้ำบ่อย
ผ้าเปียกชื้นคือตัวสะสมแบคทีเรีย เช่น ซัลโมเนลลา, อีโคไล
ทางแก้: ต้มผ้าทุกสัปดาห์ 10 นาที เปลี่ยนใหม่ทุกเดือน ใช้ฟองน้ำต้านแบคทีเรียและเก็บให้แห้ง -
วางเครื่องปรุงไว้ใกล้เตา
ความร้อนทำให้เครื่องปรุงเสื่อมสภาพเร็ว เกิดสารอันตราย น้ำตาล-เกลือดูดความชื้น เสี่ยงเชื้อรา
ทางแก้: แบ่งใส่ขวดเล็ก ปิดฝาสนิท เก็บในที่แห้ง ห่างแหล่งความร้อน
4 วิธีสร้างห้องครัวที่ปลอดภัย
-
เลือกอุปกรณ์ครัวที่ได้มาตรฐาน เลือกของที่มีสัญลักษณ์ “ปลอดภัยสำหรับอาหาร”
-
ปรับพฤติกรรมเวลาเข้าครัว ควรใส่หน้ากากขณะปรุงอาหาร ลดการสูดควันมัน
-
ทำความสะอาดอย่างถูกวิธี ใช้เบกกิ้งโซดาผสมน้ำร้อนเช็ดทำความสะอาดทุกสัปดาห์
-
ตรวจสุขภาพประจำปี ผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปี ควรส่องกล้องกระเพาะ-ลำไส้ทุกปี