AIS ปักธง เครือข่ายดีที่สุดของภาคใต้ ทั้งจำนวนคนใช้ และคุณภาพสัญญาณ

3 weeks ago 23
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

สำหรับใครที่กำลังมีแผนเดินทางมาเที่ยวทะเลภาคใต้ ไม่ว่าจะออกไปดำน้ำ ขึ้นเขาเข้าป่า หรือจะอยู่ในตัวเมือง นอนในโรงแรมชิวๆ แล้วอยากรู้ว่าจะใช้ซิมของเครือข่ายไหนดี ค่ายไหนมีสัญญาณครอบคลุมที่สุด ได้ความเร็วและความเสถียรที่มากที่สุด มาลองอ่านข้อมูลที่ทาง AIS ได้ออกมาบอกว่า เครือข่ายพร้อมที่สุดในภาคใต้กันดู ถ้าใช้อยู่จะได้มั่นใจ หรือเผื่อซื้อเพิ่มติดตัวไว้ให้อุ่นใจ

Fun Fact ของภาคใต้

  • มี 14 จังหวัด เริ่มจากระนองชุมพร ไปจบที่ยะลา นราธิวาส
  • ประจวบฯและเพชรบุรี เป็นจังหวัดของภาคตะวันตก ใครเข้าใจว่าเป็นภาคใต้บ้าง
  • ความยาวหัวจรดท้ายของภาค ราว 980 กม.
  • เป็นพื้นที่ชายฝั่ง (อันดามัน+อ่าวไทย) รวมมากกว่า 2400 กม.
  • จำนวนประชากร 9.5 ล้านราย
  • อาชีพหลัก อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และประมง

ภาคใต้เป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายทั้งในด้านประชากร และสภาพภูมิประเทศ ผู้คนใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ทั้งใช้ชีวิตตามหัวเมือง แต่อีกหลายคนก็อยู่ตามป่าเขา ทะเลสาบ หรือออกไปใช้ชีวิตตามเกาะ กลางทะเล เพื่อหาปลา ประกอบอาชีพประมง และในช่วง High Season ก็จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในบ้านเราเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็เป็นอุตสาหกรรมหลักในการสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีการซื้อขายสินค้าจากหลากหลายแหล่งเพื่อนำเอาไปใช้ในอุตสาหกรรม ซึ่งไม่ว่าจะใช้ชีวิตอยู่ตรงไหน ประกอบอาชีพอะไร ทุกคนต่างก็ต้องการเน็ตเวิร์คที่ดีมีคุณภาพทั้งสิ้น

จังหวัดที่จำนวนประชากรมากที่สุด 3 อันดับแรก (wikipedia)จังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด 3 อันดับแรก(ลงทุนแมน)
นครศรีธรรมราช 1.55 ล้านคนสงขลา 1.41 ล้านคนสุราษฎร์ธานี 1.04 ล้านคนสงขลา ประมาณ 212,000 ล้านบาทภูเก็ต ประมาณ 200,400 ล้านบาทสุราษฎร์ธานี ประมาณ 176,400 ล้านบาท

สถิติเน็ตเวิร์ค AIS ที่ให้มากกว่า

  • AIS มีเสาสัญญาณมากกว่า 6700 ไซต์
  • ก่อนมีการควบรวม จำนวนเสาเยอะกว่าคู่แข่งมาก
  • จำนวนเสายังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปี 2566 เพิ่มมากกว่า 100 ไซต์
  • 10% ของเสา อยู่ที่ภูเก็ต ที่มีความหนาแน่นของการใช้งานสูง
  • เป็นภาคที่มีความท้าทายในการวางเน็ตเวิร์คที่สุด โดยเฉพาะทางทะเล

วิธีการวาง Network ของแหล่งท่องเที่ยว(ภูเก็ต) จะมีความท้าทายมากกว่าที่ราบทั่วไป เพราะมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลาย เครือข่ายก็ไม่สามารถเจาะจงเน้นแค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ต้องครอบคลุมทั้งสำหรับนักท่องเที่ยว คนท้องถิ่น อยู่ในพื้นที่สัญญาณเข้าถึงง่าย หรือแม้แต่พื้นที่อับสัญญาณ โดยสัญญาณของ AIS ทั้ง 4G/5G ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ถึง 95% ซึ่งต่างจากเครือข่ายอื่น ที่จะอ้างอิงที่ประชากรและมีพื้นที่ครอบคลุมน้อยกว่ามาก

ทั้งนี้ไม่ใช่แค่เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างทันท่วงที แต่เครือข่ายโทรศัพท์ยังเป็นกลไกหลักของธุรกิจ ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ไปข้างหน้า และยังเป็นส่วนสร้างความปลอดภัย ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน อุบัติเหตุต่างๆ การมีสัญญาณโทรศัพท์ก็สามารถแจ้งเหตุ ระบุตำแหน่ง และสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว

ระยะห่างจากแผ่นที่ ของอุทยานแห่งชาติหลักต่างๆ

  • อุทยานแห่งชาติเกาะสุรินทร์ ~ 55 กิโลเมตร
  • อุทยานแห่งชาติสิมิลัน ~ 70 กิโลเมตร
  • เกาะเต่า ~ 70 กิโลเมตร
  • เกาะสมุย ~ 20 กิโลเมตร
  • หมู่เกาะพีพี ~ 45 กิโลเมตร

ระยะทำการของสัญญาณโทรศัพท์โดยมาก จะอยู่ที่ราว 30 กิโลเมตรเท่านั้น หากเกาะตั้งออกไปไกลจากแผ่นดินเกิน 30 กิโลเมตร ก็จะเป็นความยากในการสร้างเครือข่ายมาก ซึ่งทาง AIS ก็ได้มีการคิดค้นร่วมกับซัพพลายเออร์เสาสัญญาณ สร้าง Supercell ในการยิงเชื่อมเกาะขึ้นมา ซึ่งถ้าใครสนใจอยากอ่านข้อมูลเพิ่มเติม สามารถอ่านต่อได้ที่ สัญญาณโทรศัพท์ 4G/5 ในป่า – กลางทะเล มาจากไหน?

โดยทาง AIS ได้ยืนยันว่าพื้นที่ไหนของภาคใต้ที่ค่ายอื่นไม่มีสัญญาณ แต่ AIS การันตีว่ามี และจะขยายสัญญาณเพิ่มไปถึงระดับระดับตำบลในปีหน้า 

โฉมหน้าทีมงาน และผู้บริหาร ที่สร้างเครือข่ายภาคใต้ให้แข็งแกร่งขึ้นมาจนทุกวันนี้

ลักษณะการใช้งานของคนใต้ ที่ต่างจากพื้นที่อื่น

  • คนกรุงเทพฯ ปัจจุบันใช้ Post-paid กันสูงถึง 60%
  • แต่คนใต้นิยมใช้ Pre-paid สูงถึง 70-80%
  • นักท่องเที่ยวเยอะ แต่คนใช้หลักยังเป็นคนท้องถิ่น 
  • แม้มีการควบรวม แต่ AIS ยังสามารถรักษาอันดับ 1 จำนวนผู้ใช้ภาคใต้
  • ประชากร 2.5 ล้านราย เกี่ยวข้องหรืออยู่ในภาคธุรกิจท่องเที่ยว

คนใต้อยู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก และเลือกใช้ซิมแบบเติมเงินกันเป็นหลัก โดยก่อนหน้านี้ผู้ใช้จะเจอปัญหาเขตอับสัญญาณในส่วนที่เป็น Back Office หรือพื้นที่ของพนักงานกันมาก ซึ่งนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ ต่างพื้นที่จะไม่ค่อยรู้ปัญหานี้ แต่ประชาชนคนในพื้นที่จะเดือดร้อน ต้องคอยเดินหาสัญญาณเพื่อใช้งานกันระหว่างวัน ซึ่งหลังจากทางทีมวิศวกรเครือข่ายได้ทราบข้อมูล ก็นำเอาเสาและตัวกระจายสัญญาณไปติดตั้ง ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ รวมถึงพื้นที่ห่างไกลในเขตตำบลที่สัญญาณเข้าไม่ถึง หรือพื้นที่ทางทะเลต่างๆ เพื่อให้คนที่ประกอบอาชีพประมง มีสัญญาณให้ใช้อีกด้วย

ตัวอย่างความจำเป็นในการเข้าถึงข้อมูล

Fun Fact ด้านนักท่องเที่ยวต่างชาติ

  • จำนวนนักท่องเที่ยวปี 2567 ราว 16 ล้านราย
  • คิดเป็นจำนวน นทท. ราว 97% เทียบกับปี 2019 (ก่อนโควิด)
  • นทท.จีน ยังกลับมาแค่ราว 50%
  • นทท.จากรัสเซียเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เช่นเดียวกับอินเดีย
  • นทท. ซื้อซิมจากเคาน์เตอร์ ในสนามบินลดลง
  • เริ่มนิยมซื้อซิมก่อนมาเที่ยวมากขึ้น

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในภาคใต้แต่ละปี จะมีจำนวนที่มากกว่าประชากรในพื้นที่ ซึ่งในช่วงโควิดที่นักท่องเที่ยวหายไป ก็ทำให้เกิดปัญหาปากท้อง รายได้ต่อครัวเรือนลดลงเป็นอย่างมาก เพราะนักท่องเที่ยวที่เข้ามา สร้างรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผู้คนทั้งหมด ทั้งจากการสินค้าจากต่างพื้นที่ หรือจ้างแรงงานจากจังหวัดใกล้เคียงเพื่อนำเข้าไปให้บริการนักท่องเที่ยว ปัจจุบันนักท่องเที่ยวเริ่มกลับมาในเมืองไทยใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิดแล้ว ถ้าใครได้ไปภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียง ก็จะได้เห็นความคึกคักของพื้นที่ไม่ต่างจากอดีต ซึ่งก็มีคำกล่าวว่าดูแลนักท่องเที่ยวดี ประชาชนในพื้นที่ก็จะชีวิตดีตามไปด้วย

Processed with VSCO

คุณภาพเครือข่าย ที่หลายๆคนแนะนำ

  • AIS ถูกแนะนำให้ใช้งาน สำหรับการมาเที่ยวภาคใต้
  • คุณภาพสัญญาณระหว่างเดินทะเลมีความเสถียรสูง
  • ความครอบคลุมไปทั่ว แม้พื้นที่อับสัญญาณ

หลักการพัฒนาเน็ตเวิร์คของ AIS ประกอบไปด้วย 3 อย่าง คือ 1) Coverage 2) Capacity 3) Reliability หรือ สร้างความครอบคลุม เพิ่มความสามารถในการให้บริการ และมีเสถียรภาพ ซึ่งการจะทำให้เกิดขึ้นได้นี้ก็ไม่ใช่แค่แผนงานเขียนขึ้นมาสวยๆ แต่ต้องใช้ความพยายามในการสร้างเครือข่ายเป็นอย่างมากด้วย โดยทาง AIS แจ้งว่าปัจจุบันทางเครือข่าย มี Network Quality Gap สูงกว่าคู่แข่งมากกว่า 10% แต่ก็ยังคงพัฒนาต่อไม่มีหยุด ดังที่เห็นว่าเสาสัญญาณก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีการปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมการใช้งานของประชากร และนักท่องเที่ยวอยู่ตลอด โดยคนในพื้นที่เอง หรือคนที่เคยเดินทางมาเที่ยวภาคใต้ หลายคนต่างก็แนะนำซิมของเอไอเอสกันว่าเป็นเครือข่ายที่ดีที่สุดสำหรับใช้งานภาคใต้

แล้วเพื่อนๆล่ะครับ ได้ใช้เอไอเอสที่ภาคใต้กันมั่งรึเปล่า มีประสบการณ์เป็นอย่างไร ก็มาแชร์กันได้นะครับ

Read Entire Article