ชายป่วยโรค "ไฟลามทุ่ง" หน้าบวมสุดทรมาน หมอเตือนแค่ "แคะขี้มูก" อาจถึงขั้นเสียโฉม

1 month ago 44
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

ชายป่วยโรค "ไฟลามทุ่ง" ไข้ขึ้น ตาปิด หน้าบวมสุดทรมาน หมอเตือนแค่ "แคะขี้มูก" อาจถึงขั้นเสียโฉม

ชายจีนวัย 66 ปีในมณฑลเจียงซูของจีนแผ่นดินใหญ่ นามสกุล “จาง” (นามสมมติ) มีนิสัยชอบแคะจมูกเป็นประจำ จู่ๆ เปลือกตา แก้มทั้งสองข้าง และบริเวณจมูกก็เกิดอาการบวมแดงขึ้น พร้อมมีไข้สูงตลอดเวลา ใบหน้าบวมจนลืมตาแทบไม่ขึ้น และมีความรู้สึกร้อนแสบรุนแรงจนเจ็บปวดทรมานอย่างมาก

หลังเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ แพทย์พบว่าเขาเป็นโรค ไฟลามทุ่ง (Erysipelas) คือ โรคจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนัง ในชั้นหนังแท้ (Dermis) ซึ่งเป็นการอักเสบของผิวหนังเฉียบพลันจากเชื้อแบคทีเรีย แค่เพียงเล็บขูดไปมาบนเยื่อบุจมูก ก็อาจทำให้ติดเชื้อได้ และก่อให้เกิดผื่นแดงสดเป็นปื้นใหญ่ ในภาษาจีนเรียกว่า โรคตันตู๋

จากรายงานของสื่อจีน ระบุว่า แพทย์แผนจีนจากโรงพยาบาลแพทย์แผนจีนเมืองห่วยอัน เป็นผู้วินิจฉัยโรคตันตู๋ให้กับชายผู้นี้ โดยแพทย์อธิบายว่า ตันตู๋มักแสดงอาการผิวแดงจัดเป็นบริเวณกว้าง สีเหมือนถูกทาด้วยชาดแดง โดยปกติมักเกิดบริเวณขา โดยเฉพาะน่อง ส่วนการเกิดบนใบหน้าเกิดได้น้อย มักมีสาเหตุจากการแคะจมูกหรือแคะหูจนเกิดแผล แล้วทำให้ติดเชื้อที่จมูกหรือหู

เมื่อทราบสาเหตุแล้ว แพทย์จึงรักษาด้วยการใช้ยาทาแผนจีนชื่อ “อู่หวงฮั่วตู๋เกา” (五黄化毒膏) ทาภายนอก ร่วมกับการให้ยาสมุนไพรจีนสำหรับขับพิษ ลดบวม และระงับอาการปวด ผลการรักษาปรากฏว่าในวันที่ 2 ของการนอนโรงพยาบาล สีผิวบนใบหน้าของผู้ป่วยเริ่มกลับเป็นปกติ สามารถลืมตาได้เล็กน้อย และหลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ อาการบวมแดงก็หายเป็นปกติ และสามารถออกจากโรงพยาบาลได้อย่างปลอดภัย

แพทย์เตือนว่า จากสถิติพบว่า ผู้ใหญ่ราว 90% แคะจมูกอย่างน้อยวันละครั้ง แม้ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความจริงแล้วอาจทำให้เล็บข่วนเยื่อบุจมูกจนเกิดบาดแผล และผลที่ตามมาอาจเลวร้ายถึงขั้น “เสียโฉม” หรือรุนแรงถึงขั้นเป็นตันตู๋ได้เลย

รายงานยังระบุอีกว่า โรคนี้ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สเตรปโตค็อกคัสกลุ่มบี (Beta-hemolytic Streptococcus) เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มักจะแทรกเข้าทางผิวหนังที่มีแผล เช่น ร่องนิ้วเท้าที่มีแผลจากน้ำกัดเท้า หรือเยื่อบุจมูกที่อักเสบจากโรคจมูกอักเสบ และมักจะเล่นงานกลุ่มเสี่ยงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ คนที่พักผ่อนน้อย ดื่มแอลกอฮอล์บ่อย หรือผู้ป่วยโรคผิวหนังเรื้อรัง เป็นต้น.

Read Entire Article