ช็อก ป่วยมะเร็งยกครัว 4 ชีวิต หมอเจอต้นตอ "ตะเกียบ" ที่ใช้กินข้าว WHO ก็เคยเตือนแล้ว!

1 week ago 5
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

อุทาหรณ์เคสช็อก ครอบครัวป่วยมะเร็ง 4 ชีวิต หมอเจอต้นตอ "ตะเกียบ"  ที่ใช้กินข้าว หลายคนไม่รู้ WHO เคยเตือนแล้ว!

การใช้ตะเกียบทานข้าวเป็นวัฒนธรรมที่คุ้นเคยของหลายครอบครัวในแถบเอเชีย แต่รู้หรือไม่ว่า.... การใช้ตะเกียบแบบผิดๆ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเลยทีเดียว! ดังเช่นกรณีที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ตามรายงานจากโรงพยาบาล Chang Gung Memorial ประเทศไต้หวัน มีเคสสมาชิกครอบครัว 4 คน ผู้วินิจฉัยว่าป่วยเป็นมะเร็ง ต้นเหตุมาจากการใช้ "ตะเกียบไม้ไผ่ที่ขึ้นรา" ทานข้าวมาเป็นเวลานาน

ทำไมการใช้ตะเกียบไม้ไผ่ที่ขึ้นราจึงทำให้เกิดมะเร็ง? ตะเกียบไม้ไผ่ หรือตะเกียบไม้ต่างๆ เมื่อขึ้นราอาจมีสารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งประเภทที่ 1 ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้หลีกเลี่ยงในทุกกรณี ปัจจุบันนักวิจัยได้พบสารอะฟลาท็อกซินที่แตกต่างกันประมาณ 16 ชนิด โดยสาร Aflatoxin B1 เป็นชนิดที่มีความอันตรายที่สุด

และทุกคนควรรู้ไว้ด้วยว่า ไม่เพียงแต่อะฟลาท็อกซินที่เป็นสารพิษเท่านั้น แต่หากตะเกียบไม้ไม่ถูกเช็ดให้แห้งหลังจากทำความสะอาด ความเสี่ยงของการเติบโตของแบคทีเรียและจุลินทรีย์อาจเพิ่มขึ้น รวมถึงแบคทีเรียอย่างสแตฟิโลคอคคัส (Staphylococcus aureus) และแบคทีเรียอีโคไล (E. coli) ที่สามารถทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพได้ หากการใช้งานเป็นเวลานาน จะมีผลกระทบต่อการทำงานของตับ ไต อาจทำให้เกิดการเป็นพิษเฉียบพลัน และอาจนำไปสู่มะเร็งได้

ตามข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) อะฟลาท็อกซินเป็นหนึ่งในสารก่อมะเร็ง ที่สามารถทำให้เกิดมะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งไต มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ ซึ่งทุกคนควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะเมื่อรับสารอะฟลาท็อกซินทางปาก จะทำให้ร่างกายมีสารดังกล่าวสะสมประมาณ 2.5 มิลลิกรัม ในระยะเวลา 90 วัน และอาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งตับหลังจากผ่านไปกว่าหนึ่งปี ส่วนการรับในปริมาณ 10 มิลลิกรัม สามารถทำให้เกิดการเป็นพิษเฉียบพลันได้เลยทีเดียว

นอกจากนี้ สปอร์ของเชื้อราอะฟลาท็อกซินสามารถทนความร้อนได้ดี ซึ่งหมายความว่าหากอุณหภูมิไม่สูงพอ (ระหว่าง 1500-2000 องศาเซลเซียส) สารพิษของมันอาจไม่ถูกทำลายทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำว่า หากพบตะเกียบหรือเขียงที่ขึ้นรา ควรทิ้งไปทันที แทนที่จะเก็บรักษาไว้และทำการล้างหรือต้มเพื่อใช้งานต่อ ทั้งนี้ นอกจากตะเกียบและเขียงแล้ว อะฟลาท็อกซินยังสามารถพบได้ในอาหารบางประเภทที่ขึ้นรา โดยเฉพาะอาหารที่มีแป้งสูง เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด ข้าว หรือเห็ดหอมที่ขึ้นรา...

ควรเปลี่ยนตะเกียบบ่อยแค่ไหน? ควรเปลี่ยนตะเกียบไม้ทุกๆ 6 เดือน และควรทำการฆ่าเชื้ออย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ หรือให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเมื่อซื้อตะเกียบใหม่มา ควรล้างให้สะอาด ต้มในน้ำเดือดแล้วตากให้แห้งก่อนนำมาใช้ หลังจากใช้เสร็จทุกครั้งควรล้างทันที หลีกเลี่ยงการแช่น้ำแล้วทิ้งไว้ข้ามคืน อย่าลืมแยกตะเกียบที่ใช้สำหรับผัดหรือทำอาหาร กับตะเกียบที่ใช้ทานข้าวออกจากกัน สุดท้ายหากพบว่าตะเกียบมีรา สึกหรอ ร้าว โค้ง หรือมีเนื้อไม้หลุดลอกออก ควรทิ้งทันที อย่าเสียดายเก็บไว้เพราะอาจโรคมาสู่คนในครอบครัวได้

Read Entire Article