ดื่มแอลกอฮอล์แล้วมี 1 อาการนี้ เสี่ยงมะเร็งกว่าคนทั่วไป 70 เท่า! คนเป็นกันเยอะแต่คิดว่าเป็นอาการปกติ
ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาเตือนว่า การดื่มแอลกอฮอล์ เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของมะเร็งถึง 7 ชนิด โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีภาวะ “แพ้แอลกอฮอล์” (Alcohol Intolerance) ซึ่งพบว่าเสี่ยงมะเร็งเพิ่มขึ้นถึง 70 เท่า หลังดื่ม!
ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (NTU) ระบุว่า คนที่แพ้แอลกอฮอล์ หากยังดื่มต่อ จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเกิดมะเร็งหลายเท่าตัว
แอลกอฮอล์ = สารก่อมะเร็งระดับสูง
ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) แอลกอฮอล์และสารที่ร่างกายสร้างขึ้นจากแอลกอฮอล์ เช่น "อะซีตัลดีไฮด์" (acetaldehyde) ถูกจัดเป็น สารก่อมะเร็งกลุ่ม 1 ตั้งแต่ปี 2007 ไม่ว่าจะดื่มมากหรือน้อย ก็เพิ่มความเสี่ยงได้ทั้งนั้น
อดีตรองประธานาธิบดี "เฉินเจี้ยนเหริน" ซึ่งเป็นนักวิจัยระดับสถาบัน Academia Sinica กล่าวว่าการดื่มเกี่ยวข้องกับมะเร็งอย่างน้อย 7 ชนิด ได้แก่:
-
มะเร็งช่องปาก
-
มะเร็งคอหอย
-
มะเร็งหลอดอาหาร
-
มะเร็งตับ
-
มะเร็งลำไส้ใหญ่
-
มะเร็งลำไส้ตรง
-
มะเร็งเต้านมในผู้หญิง
คนที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ แต่มีภาวะแพ้แอลกอฮอล์ จะยิ่งเสี่ยงกว่าคนทั่วไป 70 เท่า
หน้าแดงหลังดื่ม ไม่ได้แปลว่าร่างกายแข็งแรง
ศ.เฉินเจ๋อหง ประธานสมาคมควบคุมภัยจากแอลกอฮอล์ของไต้หวัน ชี้ว่า "ภาวะหน้าแดง" ไม่ได้แปลว่า "ตับแข็งแรง" อย่างที่หลายคนเข้าใจผิด
คนที่ดื่มแล้วหน้าแดง ใจสั่น หรือปวดหัว แต่เกิดจากการที่ร่างกายผลิตเอนไซม์ชนิดหนึ่งได้น้อย เวลากินเหล้าร่างกายจะดูดซับสารเอทานอล (Ethanol) ซึ่งสารตัวนี้ทำให้รู้สึกเมา พอร่างกายรับสารเอทานอลเข้าไป ก็จะเกิดกระบวนการย่อยซึ่งเกิดขึ้นที่ตับ ตับจะใช้เอนไซม์ชนิดหนึ่งในการย่อย พอย่อยก็จะเกิดสารอะซีตัลดีไฮด์ (Acetaldehyde) ซึ่งสารตัวนี้ทำให้เราแฮงค์
ในการย่อยรอบที่สองนี้ ก็ต้องใช้เอนไซม์อีกชนิดหนึ่งเพื่อย่อยให้เป็น อะซีเตท (Acetate) ซึ่งเป็นสารให้พลังงานแก่ร่างกาย เพราะด้วยพันธุกรรมของคนเอเชียตะวันออกที่จะมีความบกพร่องทางด้านนี้ ทำให้ร่างกายย่อยอะซีตัลดีไฮด์ได้ไม่ดี จึงเกิดการตกค้างอยู่ในร่างกายมากกว่าปกติ เมื่อค้างอยู่นานๆ ก็จะทำให้เกิดอาการคล้ายๆ แพ้ ทำให้ผิวหนังมีสีแดง
ควรตรวจยีนแพ้แอลกอฮอล์
ผู้เชี่ยวชาญไต้หวันเสนอให้ การตรวจยีนแพ้แอลกอฮอล์ (ALDH2 Deficiency) ถูกบรรจุเป็นหนึ่งในการคัดกรองความเสี่ยงมะเร็ง ซึ่งปัจจุบันตรวจได้ง่ายจากเยื่อบุช่องปาก ใช้เวลาแค่ 1 ชั่วโมง ไม่ต้องเจาะเลือด
นพ.จาง อี้เฉิง จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยไต้หวันเน้นว่า "แอลกอฮอล์ไม่มีปริมาณที่ปลอดภัยเลย ดื่มเท่าไหร่ก็เพิ่มความเสี่ยง"
หากเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ควรจำกัดไม่เกินสัปดาห์ละ 2 หน่วยมาตรฐาน (เช่น เบียร์ 500 มล., ไวน์ 250 มล., เหล้า 50 มล.)