สิ่งหนึ่งของคนที่ได้ซื้อรถพลังงานไฟฟ้า 100% ต่างก็รู้ว่า การบำรุงรักษาของตัวรถนั้นต่ำกว่ารถยนต์สันดาบจากชิ้นส่วนติดตั้งที่น้อยกว่าหลายชิ้นภายในตัวรถ แต่ชิ้นส่วนประกอบหลักของตัวรถไฟฟ้าก็คือ แบตเตอรี่ ที่คิดเป็นต้นทุนหลักของตัวรถ ซึ่งหากแบตฯ เสียหรือเสื่อมแล้วจะเปลี่ยนก็เจอค่าแบตฯ ที่แพงหู่ฉี่ แต่มีผลวิจัยล่าสุดจาก Stanford ได้เปิดเผยว่า การเร่ง และเบรกรถ EV บ่อย ๆ ช่วยยืดอายุแบตฯ เพิ่มขึ้นประมาณ 40%
โดยผลวิจัยนี้มาจาก SLAC-Stanford Battery Center ของมหาลัย Stanford ที่ได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา และได้บอกว่า จากพฤติกรรมการขับขี่รถพลังงานไฟฟ้าที่พบเห็นได้ในโลกความเป็นจริงเช่น จราจรติดขัด, เดินทางระยะไกลบนทางหลวง, เดินทางระยะทางสั้น ๆ ในตัวเมือง และจอดรถทิ้งไว้ อาจจะทำให้อายุของแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นถึง 1 ใน 3 ซึ่งจะทำให้เจ้าของรถนั้นไม่มีความจำเป็นต้องรีบเปลี่ยนแบตฯ ที่มีความแพง แม้ว่าต้นทุนของแบตฯ จะลดลงประมาณ 90% แล้วก็ตาม และสามารถยืดอายุการใช้ตัวรถเพิ่มขึ้นได้อีกหลายปี
ทาง SLAC-Stanford Battery Center ได้บอกว่า นักวิจัยแบตเตอรี่ทั่วโลกนั้นมักจะทดสอบแบตเตอรี่ว่า ใช้งานได้ยาวนั้นเท่าไหร่ด้วยวิธีการปล่อยพลังงานให้เปอร์เซ็นต์แบตฯ ลดลง, ชาร์จแบตฯ หลาย ๆ รอบ และคายประจุแบตฯ แบบคงที่หลาย ๆ รอบ โดยวิธีการเหล่านี้ก็ไม่ได้สะท้อนการใช้งานแบตเตอรี่ที่อยู่บนรถพลังงานไฟฟ้าในโลกความเป็นจริงแต่อย่างใด
ซิโมน่า โอโนริ (Simona Onori) รองศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมวิทยาศาสตร์พลังงาน นักวิจัยอาวุโส Stanford Doerr School of Sustainability ก็ได้บอกเอาไวว่า “เราก็ไม่ได้ทดสอบแบตเตอรี่ของ EV ที่ถูกวิธี แต่เรามีความประหลาดใจกับสิ่งที่พบเจอก็คือ การขับรถจริง ๆ มีการเร่งความเร็วบ่อย, เบรกรถเพื่อ Regenerative braking ชาร์จไฟกลับเข้าแบตเตอรี่, หยุดแวะพักรถ และปล่อยพักแบตฯ เป็นเวลาหลายชั่วโมง ช่วยให้แบตฯ มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น โดยอิงจากการคิดทดสอบในห้องแล็บ”
ซึ่งนักวิจัยได้ทำการทดสอบสร้างโปรไฟล์ของการคายประจุแบตฯ รถพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด 4 แบบมีตั้งแต่ คายประจุแบตฯ แบบต่อเนื่อง จนไปถึง ปล่อยแบบไดนามิก โดยมีการอิงพฤติกรรมการขับขี่ที่พบได้ทั่วไปในท้องถนนแบบโลกความเป็นจริงก็พบว่า แบตฯ ลิเธียมไอออนจำนวน 92 ก้อนที่ใช้เวลาทดสอบ 2 ปี ตัวแบตฯ มีอายุการใช้งานเพิ่มขึ้น
จากการทดสอบที่ผ่านมาตลอด 2 ปีก็พบเบื้องหลังที่ทำให้แบตฯ มีอายุการใช้งานเพิ่มขึ้นก็คือ ‘อัลกอริทึม’ โดยท่ีตัวระบบจะออกรูปแบบการปล่อยประจุแบตฯ แบบไดนามิกที่ช่วยให้ลดการเสื่อมในระยะยาว ยิ่งระบบอิงตามพฤติกรรมการขับขี่จริงเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้แบตฯ ก็ใช้งานได้ยาวนานขึ้นตาม ๆ กันไป
ที่มา : Stanford University News