พุทธศาสนสุภาษิต 99 แคปชั่นวันพระ ภาษาบาลีพร้อมคำแปล ข้อคิดเตือนใจจากธรรมะ

1 week ago 11
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

"พุทธศาสนสุภาษิต" 99 แคปชั่นวันพระ วันวิสาขบูชา ภาษาบาลีพร้อมคำแปล ข้อคิดเตือนใจจากธรรมะ 

พุทธศาสนสุภาษิต คือ ถ้อยคำอันเป็นคติธรรม หรือสุภาษิตที่มาจากพระพุทธศาสนา ซึ่งมักยกมาจากพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ ในพุทธศาสนา โดยเนื้อหาจะเน้น หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่น เรื่องของกรรม ความเพียร ความดี ความชั่ว การอยู่ร่วมกันในสังคม และการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์

พุทธศาสนสุภาษิต หมวดธรรมะเบื้องต้น

  • อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ : คนขยันย่อมหาทรัพย์ได้

  • พาโล อปริณายโก : คนโง่ คนพาล ไม่ควรเป็นผู้นำ

  • อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ : ตนเป็นที่พึ่งของตน

  • ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย : ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์

  • อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย : ชนะตนนั่นแหละประเสริฐกว่า

  • ยถาวาที ตถาการี : พูดอย่างไร ทำได้อย่างนั้น

  • สจฺจํ เว อมตา วาจา : คำจริงเป็นสิ่งไม่ตาย

  • อิณาทานํ ทุกขํ โลเก : การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก

  • อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา : บัณฑิตย่อมฝึกตน

  • ททมาโน ปิโย โหติ : ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก

  •  กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ : ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

พุทธศาสนสุภาษิต หมวดเบ็ดเตล็ด

  • สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ : ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก

  • อาโรคฺยปรมา ลาภา : ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง

  • ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา : ความหิว เป็นโรคอย่างยิ่ง

  • อนิจฺจา วต สงฺขารา : สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ

  • วโส อิสฺสริยํ โลเก : อำนาจเป็นใหญ่ในโลก

  • สพฺพญฺเจ ปฐวึ ทชฺชา นากตญฺญุมภิราธเย : ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้

  • อุกฺกฏฺเฐ สูรมิจฺฉนฺติ : ในเวลาคับขัน ย่อมต้องการคนกล้า

  • อาปทาสุ ถาโม เวทิตพฺโพ : กำลังใจพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย

  • นาญญํ นิสฺสาย ชีเวยฺย : ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่

  • พลํ จนฺโท พลํ สุริโย พลํ สมณพฺราหฺมณา พลํ เวลา สมุทฺทสฺส พลาติพลมิตฺถิโย : พระจันทร์ พระอาทิตย์ สมณพราหมณ์ และฝั่งทะเล ต่างก็มีกำลัง, แต่สตรีมีกำลังยิ่งกว่ากำลัง (เหล่านั้น)

  • ยํ ลทฺธํ เตน ตุฏฺฐพฺพํ : ได้สิ่งใด พอใจด้วยสิ่งนั้น

พุทธศาสนสุภาษิต หมวดบุคคล

  • อิตฺถี ภณฺฑานมุตฺตมํ : สตรีเป็นสูงสุดแห่งสิ่งของทั้งหลาย

  • อตฺตานํ  นาติวตฺเตยฺย :  บุคคลไม่ควรลืมตน
  • ปริภูโต มุทุ โหติ อติติกฺโข จ เวรวา : อ่อนไป ก็ถูกเขาหมิ่น แข็งไป ก็มีภัยเวร

  • นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต : ผู้ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก

  • ทุวิชาโน ปราภโว : ผู้มีความรู้ในทางชั่ว เป็นผู้เสื่อม

  • ธมฺมกาโม ภวํ โหติ : ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ

  • ครุ โหติ สคารโว : ผู้เคารพผู้อื่น ย่อมมีผู้เคารพตนเอง

  • น  สนฺถวํ  กาปุริเสน  กยิรา : ไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว
  • รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ : พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
  • เอวํ กิจฺฉาภโต โปโส ปิตุ อปริจารโก ปิตริมิจฺฉาจริตฺวาน นิรยํ โส อุปปชฺชติ : ผู้ที่มีมารดาบิดาเลี้ยงมาได้โดยยากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดาบิดา ประพฤติผิดในมารดาบิดา ย่อมเข้าถึงนรก

  • ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย นิสีเทยฺย สเยยฺย วา น ตสฺส สาขํ ภญฺเชยฺย มิตฺตทุพฺโพ หิ ปาปโก : บุคคลนั่งหรือนอน (อาศัย) ที่ร่มเงาต้นไม้ใด ไม่ควรรานกิ่งต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม

  • โรสโก กทริโย จ ปาปิจฺโฉ มจฺฉรี สโฐ อหิริโก อโนตฺตปฺปี ตํ ชญฺญา วสโล อิติ : ผู้ใดเป็นคนขัดเคือง เหนียวแน่น ปรารถนาลามก ตระหนี่ โอ้อวด ไม่ละอาย และไม่เกรงกลัวบาป พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว

พุทธศาสนสุภาษิต หมวดการศึกษา-ปัญญา

  • หินชจฺโจปิ เจ โหติ อุฏฺฐาตา ธิติมา นโร อาจารสีลสมฺปนฺโน นิเส อคฺคีว ภาสติ : คนเราถึงมีชาติกำเนิดต่ำ แต่หากขยันหมั่นเพียร มีปัญญาประกอบด้วยอาจาระและศีล ก็รุ่งเรืองได้ เหมือนไฟถึงอยู่ในคืนมืดก็สว่างไสว

  • สากจฺฉาย ปญฺญา เวทิตพฺพา : ความมีปัญญา ย่อมรู้ได้จากการสนทนา

  • นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา : แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี

  • ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต : ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก

  • สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ : ผู้ไม่ประมาท พินิจพิจารณา ตั้งใจฟัง ย่อมได้ปัญญา

  • ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถํ จรติ อตฺตโน อตฺตโน จ ปเรสญฺจ หึสาย ปฏิปชฺชติ : คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น

พุทธศาสนสุภาษิต หมวดวาจา   

  • นา ติเวอภูตวาที นิรยํ อุเปติ : คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก

  • ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย : ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน

  • สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ : ความสะอาด พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ

  • ลํ ปภาเสยฺย นตุณหี สพฺพทา สิยา อวิกิณฺมิตํ วาจํ ปตฺเตกาเล อุทีริเย : ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป เมื่อถึงเวลาก็ควรพูดพอประมาณ ไม่ฟั่นเฝือ

  • ปรสฺส วา อตฺตโน วาปิ เหตุ น ภาสติ อลิกํ ภูริปญฺโญ โส ปูชิโต โหติ สภาย มชฺเฌ ปจฺฉาปิ โส สุคติคามิ โหติ : ผู้มีภูมิปัญญาย่อมไม่พูดพล่อย ๆ เพราะเหตุแห่งคนอื่น หรือตนเอง ผู้นั้นย่อมมีผู้บูชาในท่ามกลางชุมชน (สภา) แม้ภายหลังเขาย่อมไปสู่สุคติ

  • ยํ พุทฺโธ ภาสตี วาจํ เขมํ นิพฺพานปตฺติยา ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย สา เว วาจานมุตฺตมา : พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด เป็นคำปลอดภัย เพื่อบรรลุพระนิพพาน และเพื่อทำที่สุดทุกข์, พระวาจานั้นแล เป็นสูงสุดแห่งวาจาทั้งหลาย

  • ยญฺหิ กยิรา ตญฺหิ วเท ยํ น กยิรา น ตํ วเท อกโรนฺตํ ภาสมานํ ปริชานนฺติ ปณฺฑิตา : บุคคลทำสิ่งใด ควรพูดสิ่งนั้น ไม่ทำสิ่งใด ไม่ควรพูดสิ่งนั้น, บัณฑิตย่อมกำหนดรู้คนที่ไม่ทำ ได้แต่พูด

พุทธศาสนสุภาษิต หมวดความอดทน   

  • ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน : ความอดทน เป็นตบะ ของผู้พากเพียร

  • ขนฺติ สาหสวารณา : ความอดทน ห้ามไว้ได้ซึ่งความผลุนผลัน

  • มนาโป โหติ ขนฺติโก : ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่ชอบใจของบุคคลอื่น

  • เกวลานํปิ ปาปานํ ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ ครหกลหาทีนํ มูลํ ขนฺติ ขนฺติโก : ความอดทน ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น, ผู้มีขันติ ชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันได้ เป็นต้น

  • ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา ปิโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก : ผู้มีความอดทน นับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ, ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่รัก ชอบใจของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

  • อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก : ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น, ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน

พุทธศาสนสุภาษิต หมวดความเพียร

  • วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ : คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

  • ขโณ โว มา อุปจฺจคา : อย่าปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์

  • หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ : คนที่ผัดวันว่าพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งผัดว่ามะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม

  • กาลคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ : คนขยัน พึงไม่ให้ประโยชน์ที่มาถึงแล้วผ่านไปโดยเปล่า

  • โภคา สนฺนิตยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ : ค่อย ๆ เก็บรวบรวมทรัพย์ ดังปลวกก่อจอมปลวก

  • อตีตํ นานฺวาคเมยฺนย นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ : อย่ารำพึงถึงความหลัง อย่ามัวหวังถึงอนาคต

  • อสเมกฺขิตกมฺมนฺตํ ตุริตาภินิปาตินํ ตานิ กมฺมานิ ตปฺเปนฺติ อุณฺหํ วชฺโฌหิตํ มุเข : ผู้ที่ทำการงานลวก ๆ โดยมิได้พิจารณา เอาแต่รีบร้อนพรวดพราด จะก่อความเดือดร้อนให้ เหมือนตักอาหารที่ยังร้อนใส่ปาก

  • อชฺช สุวติ ปุริโส สทตฺทํ นาวพุชฺฌติ โอวชฺชมาโน กุปฺปติ เสยฺยโส อติมญฺญติ : คนที่ไม่รู้จักแยกแยะว่าควรทำวันนี้หรือพรุ่งนี้ ใครตักเตือนก็โกรธ เย่อหยิ่ง ถือดี เป็นที่โปรดปรานของกาลกิณี

  • หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ อนาคตํ เนตมตฺถีติ ญตฺวา อุปฺปนฺนจฺฉนฺทํ โก ปนุเทยฺย ธีโร : มัวรำพึงถึงความหลังก็หดหาย มัวหวังวันหน้าก็ละลาย สิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็ยังไม่มี ผู้ฉลาดรู้เช่นนี้ จะไม่ปล่อยฉันทะให้สูญเปล่า

  • อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเฏน วิจกฺขโณ สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ อณุ อคคึว สนฺธมํ : ผู้มีปัญญาย่อมตั้งตัวได้ แม้มีทุนเพียงน้อย เปรียบเหมือนคนที่ก่อไฟจากเปลวเล็กให้ลุกโชนได้

  • อฏฺฐา ตา กมฺมเธยฺเยสุ อบฺปมตฺโต วิธานวา สมํ กปฺเปติ ชีวิตํ สมภตํ อนุรกฺขติ : ผู้ขยัน ไม่ประมาท รู้จักจัดการงานดี ใช้ชีวิตพอประมาณ จึงสามารถรักษาทรัพย์ที่หามาได้

พุทธศาสนสุภาษิต หมวดความโกรธ

  • โกโธ สตฺถมลํ โลเก : ความโกรธเป็นดังสนิมในโลก

  • โกโธ ทุมฺเมธโคจโร : ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนมีปัญญาทราม

  • โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ : ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข

  • ทุกฺขํ สยติ โกธโน : คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์

  • ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ : ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย

  • อปฺโป หุตฺวา พหุ โหติ วฑฺฒเต โส อขนฺติโช : ความโกรธน้อยแล้วมาก มันเกิดจากความไม่อดทน จึงทวีขึ้น

  • ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ : ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้

  • อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โกโธ สหเต นรํ : ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมมีขึ้นเมื่อนั้น

พุทธศาสนสุภาษิต หมวดการชนะ

  • ชิเน กทริยํ ทาเนน : พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้

  • อสาธํ สาธุนา ชิเน : พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี

  • อกฺโกเธน ชิเน โกธํ : พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ

  • สจฺเจนาลิกวาทินํ : พึงชนะคนพูดปด ด้วยคำจริง 

พุทธศาสนสุภาษิต หมวดตน-การฝึกตน

  • ลพฺภา ปิยา โอจิตฺเตน ปจฺฉา : ตระเตรียมตนให้ดีเสียก่อนแล้ว ต่อไปจะได้สิ่งอันเป็นที่รัก

  • สทตฺถปสุโต สิยา : พึงขวนขวายในเป้าหมายของตน

  • กลฺยาณํ วต โภ สกฺขิ อตฺตานํ อติมญฺญสิ : ท่านเอ๋ย! ท่านก็สามารถทำดีได้ ไยจึงมาดูหมิ่นตัวเองเสีย

  • สนาถา วิหรถ มา อนาถา : จงอยู่อย่างมีหลักยึดเหนี่ยวใจ อย่าเป็นคนไร้ที่พึ่ง

  • ปเร สํ หิ โส วชฺชานิ โอปุนาติ ยถาภุสํ อตฺตโน ปน ฉาเทติ กลึว กิตวา สโฐ : โทษคนอื่นเที่ยวกระจาย เหมือนโปรยแกลบ แต่โทษตนปิดไว้ เหมือนพรานนกเจ้าเล่ห์แฝงตัวบังกิ่งไม้

  • อตฺตตฺถปัญฺญา อสุจี มนุสฺสา : มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด

  • อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ : ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น

พุทธศาสนสุภาษิต หมวดบุญ-บาป

  • ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ : บุญอันโจรนำไปไม่ได้

  • ปุญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ : บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต

  • น ฆาสเหตุปิ กเรยฺย ปาปํ : ไม่ควรทำบาปเพราะเห็นแก่กิน

  • สกมฺมุนา หญฺญติ ปาปธมฺโม : คนมีสันดานชั่ว ย่อมลำบากเพราะกรรมของตน

  • ปาปํ ปาเปน สุกรํ : ความชั่วอันคนชั่วทำง่าย

  • อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ อาปูรติ พาโล ปาปสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ : แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำฉันใด คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อย ๆ ก็เต็มด้วยบาปฉันนั้น

พุทธศาสนสุภาษิต หมวดพบสุข 

  • น หึสนฺติ อกิญฺจนํ :ไม่มีอะไรเลย ไม่มีใครเบียดเบียน

  • สุขิโน วตารหนฺโต : ท่านผู้ไกลกิเลส มีความสุขจริงหนอ

  • สกิญฺจนํ ปสฺส วิหญฺญมานํ : คนมีห่วงกังวล ย่อมวุ่นวายอยู่

  • ยาวเทวสฺสหู กิญฺจิ ตาวเทว อขาทิสํ : ตราบใด ยังมีชิ้นเนื้อคาบไว้นิดหน่อย ตราบนั้น ก็ยังถูกกลุ้มรุมยื้อแย่ง

  • หิรญฺญํ เม สุวณฺณํ เม เอสา รตฺตินฺทิวา กถา ทุมฺเมธานํ มนุสฺสานํ อริยธมฺมํ อปสฺสตํ : พวกมนุษย์ผู้อ่อนปัญญา ไม่เห็นอริยธรรม สนทนาถกเถียงกันทั้งวันทั้งคืน แต่ในเรื่องที่ว่า เงินของเรา ทองของเรา

  • อตีตํ นานุโสจนฺติ นปฺปชปฺปนฺติ นาคตํ ปจฺจุปฺปนฺเนน ยาเปนฺติ เตน วณฺโณ ปสีทติ : ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ฉะนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส

  • โสจํ ปณฺฑุกิโส โหติ ภตฺตญฺจสฺส น รุจฺจติ อมิตฺตา สุมนา โหนฺติ สลฺลวิทฺธสฺส รุปฺปโต : มัวเศร้าโศกอยู่ก็ซูบผอมลง อาหารก็ไม่อยากรับประทาน ศัตรูก็พลอยดีใจ ในเมื่อเขาถูกลูกศรแห่งความโศกเสียบแทงย่ำแย่อยู่

  • อนาคตปฺปชปฺปาย อดีตสฺสานุโสจนา เอเตน พาลา สุสฺสนฺติ นโฬว หริโต ลุโต : ชนทั้งหลายผู้ยังอ่อนปัญญา เฝ้าแต่ฝันเพ้อถึง สิ่งที่ยังไม่มาถึง และ หวนละห้อยถึงความหลังอันล่วงไปแล้ว จึงซูบซีดหม่นหมอง เสมือนต้นอ้อสดที่เขาถอนขึ้น ทิ้งไว้ในกลางแดด

  • โย อตฺตโน ทุกฺขมนานุปุฏฺโฐ ปเวทเย ชนฺตุ อกาลรูเป อานนฺทิโน ตสฺส ภวนฺติ มิตฺตา หิเตสิโน ตสฺส ทุกฺขี ภวนฺติ : ผู้ใดพอใครถามถึงทุกข์ของตน ก็บอกเขาเรื่อยไป ทั้งที่มิใช่กาลอันควร ผู้นั้นจะมีแต่มิตรชนิดเจ้าสำราญ ส่วนผู้หวังดีต่อเขาก็มีแต่ทุกข์

  • ลาโภ อลาโภ ยโส อยโส จ นินฺทา ปสํสา จ สุขํ จ ทุกฺขํ เอเต อนิจฺจา มนุเชสุ ธมฺมา มา โสจิ กึ โสจสิ โปฏฺฐปาท : ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และ ทุกข์ สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์ ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน อย่าเศร้าโศกเลย ท่านจะโศกเศร้าไปทำไม

Read Entire Article