รู้แล้วสบายใจ! อ.จุฬาฯ เฉลยสิ่งปริศนาใน "ไก่ทอดแบรนด์ดัง" ฟันธงกินได้ ไม่ใช่ไข่พยาธิ

5 days ago 4
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

ผู้บริโภคผวา สิ่งปริศนาใน "ไก่ทอดแบรนด์ดัง" ล่าสุด อ.จุฬาฯ เฉลยแล้วคืออะไร กินได้ไหม ฟันธงไม่ใช่ไข่พยาธิ!


จากกรณีโลกออนไลน์แชร์ภาพ พบสิ่งปริศนาในไก่ทอดจากแบรนด์ดัง เกิดข้อสงสัยว่าอวัยวะของไก่นี้เรียกว่าอะไร และรับประทานได้หรือไม่? โดยเพจ อีซ้อขยี้ข่าว : อีซ้อ ได้โพสต์รูปพร้อมระบุว่า มีคนเข้าไปโพสต์ถามว่า ”นี่คือตัวอะไร“ ใช่ไข่พยาธิหรือเปล่า? สยองมากไม่กล้ากิน ไปเจอในชิ้นไก่ทอดของแบรนด์ดัง...ซึ่งหลายคนบอกไปในทิศทางเดียวกันว่ามันคือของที่อร่อยที่สุดและไม่ได้จะหากินกันง่ายๆ.

ในเวลาต่อมามีคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญ ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก Sci Chula - คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้โพสต์ให้ความรู้ในประเด็นดังกล่าว โดยอ้างอิงข้อมูลจากคณาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ประกอบด้วย รศ.ดร.ธนะกุล วรรณประเสริฐ, รศ.ดร.วิเชฎฐ์ คนซื่อ และ ผศ.ดร. สิทธิพร ภัทรดิลกรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา

โดยระบุว่า โครงสร้างในภาพ คือ ไต (kidney) ของไก่ ทั้งนี้ไต มี 2 ข้าง รูปร่างยาวและมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่ละข้างแบ่งออกเป็น 3 พู (lobe) ซึ่งจะฝังอยู่ในกระดูกเชิงกราน ไตเเต่ละพู ประกอบด้วยชั้นนอก (หรือ cortex) จะมีรอยหยักเว้า ของเนื้อไตตามธรรมชาติ (คิดเป็นเนื้อเยื่อร้อยละ 70-80 ของเนื้อไต) และเนื้อไตชั้นใน (หรือ medulla) (คิดเป็นเนื้อเยื่อร้อยละ 20-30 ของเนื้อไต) เนื้อไตสดจะมีสีน้ำตาลแดง เมื่อนำมาประกอบอาหารจนสุก สีอาจซีด อาจพบรอยหยักเว้า ทั้งนี้เมื่อสุก สามารถรับประทานได้

ไตเป็นอวัยวะในระบบขับถ่าย (excretory system) ทำหน้าที่กำจัดกรดยูริก (uric acid) ซึ่งเป็นของเสียของร่างกายซึ่งพบในสัตว์ปีก ปัสสาวะที่ผลิตจากไตจะอยู่ในลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว (semisolid) แต่เมื่อกรดยูริกมายังโคลเอกาหรือทวารร่วม (cloaca) จะตกตะกอนเป็นผลึกสีขาวรวมตัวกับอุจจาระซึ่งมีสีดำ ดังนั้นในเนื้อไตของไก่จึงไม่มีอุจจาระเจือปน การขับถ่ายในรูปของกรดยูริกจะช่วยให้สัตว์สามารถประหยัดการสูญเสียน้ำจากร่างกาย

นอกจากนี้ ในภาษาอีสาน คำว่า ไตไก่ อาจสื่อความหมายถึง กึ๋น (Gizzard) เช่น ปิ้งไตไก่ หรือ กึ๋นไก่ย่าง ทั้งนี้โครงสร้างในภาพ ไม่ใช้กึ๋นของไก่ เนื่องจากกึ๋นเป็นโครงสร้างของระบบทางเดินอาหาร มีผนังกล้ามเนื้อหนาและเหนียว ไม่พบรอยหยัก เกร็ดเสริมความรู้ กี๋นมีหน้าที่ช่วยบด ย่อยอาหาร เหมือนกับเคี้ยว เนื่องจากสัตว์ปีกไม่มีฟันที่จะเคี้ยวอาหารเหมือนมนุษย์

Read Entire Article