ลูก 8 ขวบโตพรวด หลังกิน "ยาสูง" แต่ครึ่งปีผลข้างเคียงโผล่ พ่อช็อกสุดขีดพาไปพบแพทย์!

1 week ago 6
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

เด็ก 8 ขวบสูงพรวดหลังดื่ม “ยาสูง” แต่ผ่านไปแค่ครึ่งปี ผลข้างเคียงทำพ่อแม่แทบล้มทั้งยืน ช็อกซ้ำเมื่อรู้ความจริงจากหมอ

ความหวังให้ลูกสูงขึ้นอาจกลายเป็นภัยเงียบหากพ่อแม่ไม่เข้าใจเรื่องการเติบโตของเด็กอย่างถูกต้อง..... ดังเช่นกรณีของพ่อแม่คู่หนึ่งในประเทศจีน ตัดสินใจให้ลูกชายวัย 8 ขวบดื่ม “ยาสูง” หลังสังเกตว่าลูกมีความสูงเพียง 120 ซม. ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐาน และต่ำกว่าเพื่อนร่วมชั้นอย่างเห็นได้ชัด ด้วยความกังวลใจ พวกเขาซื้อยาจากคำแนะนำของเพื่อน โดยเชื่อว่าเป็นทางลัดช่วยเพิ่มความสูง

ซึ่งหลังจากเริ่มดื่มจนกระทั่งผ่านไปครึ่งปี เด็กมีความสูงเพิ่มขึ้นถึง 5 ซม. แต่แล้วความสูงกลับหยุดนิ่ง ทำให้พ่อแม่ตัดสินใจพาลูกไปตรวจที่โรงพยาบาลเด็กในเมืองอู่ฮั่น ผลตรวจทำเอาช็อกจนแทบล้มทั้งยืน เมื่อฟังคำวินิจฉันจากแพทย์ว่า กระดูกของเด็กมีอายุเทียบเท่าเด็กอายุ 11 ปี และแผ่นกระดูกกำลังปิดตัว ส่งผลให้การเติบโตหยุดชะงักเร็วกว่าปกติ

หมอเตือน “ยาสูง” ดื่มไม่ได้ผล และอาจเป็นอันตราย

ดร.หลินหมิง แพทย์ต่อมไร้ท่อเด็ก โรงพยาบาลเด็กอู่ฮั่น เตือนว่า “ไม่มีฮอร์โมนเร่งความสูงแบบรับประทานได้” ฮอร์โมนที่ใช้อย่างถูกต้องจะต้องเป็นยาฉีดภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น และต้องติดตามค่าต่างๆ อย่างเคร่งครัด เพราะการใช้โดยไม่ควบคุมอาจเร่งกระดูกให้ปิดตัวเร็ว เสี่ยงต่อการเตี้ยถาวร

แพทย์ระบุด้วยว่า นอกจากพันธุกรรมแล้ว ปัจจัยที่มีผลต่อความสูงยังรวมถึงการนอนหลับ, โภชนาการ, การออกกำลังกาย และสุขภาพจิต โดยเฉพาะในช่วงวัยเจริญเติบโต หากพลาดช่วงสำคัญ อาจไม่สามารถชดเชยภายหลังได้

  • เด็กอายุ 3 ปี ควรสูงเฉลี่ย 95 ซม.

  • อายุ 3-10 ปี ความสูงควรเพิ่มปีละ 5-7 ซม.

  • ช่วงวัยรุ่น เด็กหญิงจะโตเร็วในช่วงอายุ 10-12 ปี ส่วนเด็กชายคือ 12-14 ปี โดยเฉลี่ยอาจสูงเพิ่ม 25-30 ซม. ในช่วงนี้

ทางด้าน ดร.หลิวฮวา แพทย์ประจำโรงพยาบาลเด็กอู่ฮั่นเสริมว่า การที่เด็กมีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน อาจทำให้กระดูกเจริญเร็วเกินไปจนหยุดสูงเร็ว และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น ความดันสูง, ไขมันพอกตับ, ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง รวมถึงโรคทางจิตใจ ซึ่งล้วนมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนเจริญเติบโต

หมอแนะ 4 วิธีพ่อแม่ควรทำ ถ้าอยากให้ลูกสูงขึ้นอย่างปลอดภัย

  1. วัดส่วนสูงเป็นประจำ และวาดกราฟเส้นโค้งการเติบโต
    สังเกตการเติบโตที่เหมาะสม เช่น ปีละ 5-7 ซม. และหากกราฟเบี่ยงเบนมาก ควรปรึกษาแพทย์

  2. ให้ลูกเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม
    เพราะฮอร์โมนเจริญเติบโตจะหลั่งมากที่สุดในช่วง 1-2 ชั่วโมงหลังหลับ

  3. เน้นอาหารโปรตีนคุณภาพสูง
    เช่น ไข่, ปลา, เนื้อไม่ติดมัน, ถั่ว, ผักและผลไม้ตามฤดูกาล รวมถึงดื่มนมอย่างเหมาะสม

  4. ส่งเสริมกิจกรรมกลางแจ้ง
    ทั้งเพื่อรับแสงแดดที่ช่วยการดูดซึมแคลเซียม และเพิ่มระดับกิจกรรมทางกาย ลดความเสี่ยงโรคอ้วนและสายตาสั้น

ทั้งนี้ ยังมีการเข้าใจผิดเรื่อง “แคลเซียม” และ “เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ” โดยคุณหมอเตือนว่า การดื่มนมและเสริมแคลเซียมโดยไม่พิจารณาสัดส่วนโภชนาการ อาจทำให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ เช่น ท้องผูก, กระดูกแข็งก่อนวัย หรือกินนมนานแต่ไม่กินอาหารหลัก ส่งผลให้สารอาหารโดยรวมลดลง

อีกหนึ่งกับดักคือ เครื่องดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้ผสม ที่อาจเร่งการสูญเสียแคลเซียมในกระดูก และรบกวนการทำงานของฮอร์โมน ส่งผลเสียต่อการเติบโต และกีฬาอย่างกระโดดเชือกว่ายน้ำบาสเกตบอล ก็ไม่ได้ทำให้สูงทันที แต่มีส่วนช่วยกระตุ้นฮอร์โมนควบคุมน้ำหนักเสริมกระดูก และสร้างสุขภาพโดยรวมที่เอื้อต่อการเติบโต

ท้ายที่สุด พ่อแม่ควรลงทุนในความรู้ มากกว่าสินค้าราคาแพงที่อาจเป็นภัยต่อลูกโดยไม่รู้ตัว อย่าหลงเชื่อโฆษณา “ยาสูง” หรือทางลัดใดๆ โดยไม่ปรึกษาแพทย์ ความสูงของเด็กต้องอาศัยการดูแลต่อเนื่องจากพฤติกรรมประจำวันและสุขภาพโดยรวม ไม่ใช่แค่พึ่งอาหารเสริมหรือคำแนะนำจากคนรอบตัวที่ไม่รู้จริง

 

Read Entire Article