งานวิจัยล่าสุด "เดิน" ลดความเสี่ยงมะเร็ง แล้วต้องเดินวันละกี่ก้าว แค่ขยับเท่ากับออกกำลังกายจริงไหม?
งานวิจัยล่าสุดจาก British Journal of Sports Medicine ระบุว่า แค่ลุกขึ้นเดินหรือขยับร่างกายเบา ๆ แทนการนั่งนิ่ง ก็ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้อย่างชัดเจน
แค่ขยับตัว ก็ลดความเสี่ยงได้
มะเร็งที่พบมากในผู้ชายคือ มะเร็งลำไส้ และปอด ส่วนผู้หญิงมีทั้ง มะเร็งเต้านม ลำไส้ เยื่อบุโพรงมดลูก และปอด
ผลการศึกษาพบว่า การแทนที่เวลานั่งนิ่งด้วยการเคลื่อนไหวเบา ๆ หรือการออกกำลังกายระดับปานกลาง ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งได้
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนจากกิจกรรมเบาไปสู่ระดับปานกลาง ไม่ได้ให้ประโยชน์ที่มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ทำไมร่างกายต้องได้ขยับ?
สถาบันวิจัยโรคมะเร็ง (Institute of Cancer Research) อธิบายว่า
-
การออกกำลังกายเบา ๆ ช่วยควบคุม อินซูลิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
-
การเดิน ยังช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และควบคุมน้ำหนัก
-
ไขมันส่วนเกิน ส่งสัญญาณให้เซลล์ในร่างกายแบ่งตัวผิดปกติ ซึ่งนำไปสู่การเกิด เนื้องอกมะเร็ง
เดินให้ครบ 7,000 ก้าว ไม่ต้องเดินรวดเดียว
ดร.แมรี มอร์ริส นักชีวเคมีจากมหาวิทยาลัยลัฟโบโร แนะว่า คุณสามารถแบ่งการเดินออกเป็นช่วง ๆ เช่น
-
เดินขึ้นบันไดแทนลิฟต์
-
เดินเล่นตอนพักเที่ยง
-
เดินขณะคุยโทรศัพท์
-
หรือจอดรถให้ไกลจากที่หมายอีกนิด
มะเร็งในคนรุ่นใหม่ พุ่งสูงน่าห่วง
ในสหราชอาณาจักร มีผู้ป่วยมะเร็งใหม่กว่า 400,000 รายต่อปี และมีผู้เสียชีวิตถึง 167,000 คนต่อปี
แพทย์เตือนว่า ปี 2025 จะมีคนอายุต่ำกว่า 40 ปี เป็นมะเร็งถึง 80,000 ราย โดยเฉพาะ มะเร็งลำไส้ ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 90% ในกลุ่มวัย 20–34 ปีภายในปี 2030