วิจัยล่าสุด "ทับทิม" ป้องกันมะเร็งได้ถึง 6 ชนิด แต่ต้องเช็กก่อนกิน ไม่เหมาะกับคนกลุ่มนี้

6 days ago 7
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

วิจัยล่าสุด "ทับทิม" มีประสิทธิภาพป้องกันมะเร็งได้ถึง 6 ชนิด แต่ต้องเช็กก่อนกิน ไม่เหมาะกับคนกลุ่มนี้

การศึกษาใหม่ในปี 2025 จากวารสาร Food Science & Nutrition เผยว่า “ทับทิม” มีประสิทธิภาพเด่นชัดในการป้องกันโรคมะเร็งหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำทับทิม เมล็ด หรือสารสกัด ล้วนมีคุณสมบัติต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ต้านเนื้องอก และลดการอักเสบ สามารถช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งได้มากกว่า 20%

นอกจากนี้ ยังพบว่าทับทิมมีผลในการป้องกันมะเร็งได้ถึง 6 ชนิด ได้แก่

  • มะเร็งต่อมลูกหมาก

  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

  • มะเร็งเต้านม

  • มะเร็งผิวหนัง

  • มะเร็งปอด

  • มะเร็งลำไส้ใหญ่

ตามรายงานของ HuffPost นักวิทยาศาสตร์พบว่า โพลีฟีนอลในทับทิมสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ส่วนฟลาโวนอยด์และแทนนินในผลไม้ชนิดนี้สามารถควบคุมการอักเสบเรื้อรังได้ โดยทั้งหมดนี้ส่งผลต่อเส้นทางการส่งสัญญาณของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง ทำให้ลดการเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

การบริโภคทับทิมร่วมกับผักหลายชนิดยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้อีกระดับ โดยคาดว่าจะช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งได้มากถึง 200,000 คนต่อปี

นอกจากนี้ ทับทิมยังมีประโยชน์มากกว่าการต้านมะเร็ง เนื่องจากอุดมไปด้วยไฟโตเอสโตรเจน (ฮอร์โมนพืช) ซึ่งช่วยบรรเทาอาการวัยทองในผู้หญิง เสริมภูมิคุ้มกัน ชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ และส่งเสริมสุขภาพหัวใจ

ใครที่ไม่ควรบริโภคทับทิม

  • ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม ไม่ควรบริโภคทับทิมในปริมาณมากเกินไป เนื่องจากมะเร็งเต้านมบางชนิด จะเจริญเติบโตได้ดีขึ้นเมื่อได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน ถึงแม้ว่าไฟโตเอสโตรเจนจะมาจากพืช และมีฤทธิ์อ่อนกว่าฮอร์โมนในร่างกาย แต่ในผู้ป่วยที่มีประวัติมะเร็งเต้านม แพทย์มักแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน เพื่อลดความเสี่ยงการกระตุ้นเซลล์มะเร็งกลับมาอีก

  • น้ำทับทิมอาจส่งผลให้ความดันเลือดลดต่ำลงเล็กน้อย ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันต่ำอาการแย่ลง

  • ผู้ที่มีอาการแพ้จากพิษพืชอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแพ้จากการรับประทานทับทิม

  • ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดควรหยุดรับประทานทับทิมอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เนื่องจากทับทิมส่งผลให้ความดันเลือดต่ำลง จึงอาจกระทบต่อความดันเลือดในขณะผ่าตัดหรือมีผลต่อเนื่องไปยังหลังการผ่าตัด

  • การรับประทานทับทิมควบคู่กับยาบางชนิดอาจส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างยา เช่น ยาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของตับโดยเอนไซม์ตับ Cytochrome ชนิด P450 2D6 หรือชนิด P450 3A4 ยาลดความดันโลหิตหรือเอซีอี อินฮิบิเตอร์ ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ยาโรสุวาสแตติน ผู้ที่รับประทานยาเป็นประจำหรือมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานเพื่อความปลอดภัย

Read Entire Article