สำรวจแนวทางสหรัฐฯ ยุคทรัมป์ กับความพยายามเจาะสัมพันธ์จีน-รัสเซีย

2 weeks ago 20
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

หนึ่งในแนวทางการทูตที่เห็นได้จากสองเดือนแรกของรัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ คือการรื้อฟื้นสัมพันธ์กับรัฐบาลมอสโก แต่สิ่งที่นักวิเคราะห์ยังจับตามองคือ ท่วงท่าของรัฐบาลวอชิงตันจะสามารถเจาะความเหนียวแน่นของพันธมิตรรัสเซีย-จีนได้หรือไม่

นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อปี 2022 จีนพยายามยืนกรานว่ารัฐบาลปักกิ่งสนับสนุนสันติภาพ และเคารพบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศต่าง ๆ แต่อีกด้านก็ไม่เคยประณามรัสเซียที่เปิดฉากเข้ายึดดินแดนยูเครนเลย

ไม่เพียงเท่านั้น กรุงปักกิ่งยังยังโหวตช่วยรัสเซียในคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ และร่วมซ้อมรบด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดใกล้กับรัฐอลาสกาอีกด้วย

อีกด้านหนึ่ง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ แม้บอกว่ามีสัมพันธ์ส่วนตัวอันดีกับสี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดของจีน และประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย แต่ก็เห็นได้ว่า ขณะที่ทำเนียบขาวพูดถึงการรื้อฟื้นสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย อีกด้านหนึ่งกลับลงโทษจีนด้วยการเพิ่มอัตราภาษีนำเข้า

ชาลส์ เฮคเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตก มองว่าภาคเอกชนของชาติตะวันตกจะกลับเข้าไปในรัสเซียอย่างรวดเร็วหากมีการผ่อนปรนมาตรการลงโทษ โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน โลหะ และสินแร่ ที่คุ้นชินกับการทำธุรกิจในพื้นที่ความเสี่ยงสูง

อย่างไรก็ตาม เขามองว่าการกลับไปทำธุรกิจแบบที่เคยเป็นมา ไม่ใช่สัญญาณของการกลับมาญาติดีกันระหว่างกรุงมอสโกและกรุงวอชิงตัน และไม่เพียงพอที่จะทำให้รัสเซียตีตัวออกห่างจากจีน หากไม่สามารถเปลี่ยนทัศนคติต่อต้านระบบการเมืองและเศรษฐกิจแบบตะวันตกของปูติน

“คุณไม่เคยได้ยินประธานาธิบดีปูตินพูดอะไรขัดกับจีนในทางอุดมการณ์ และตอนนี้ทั้งสองก็เป็นหุ้นส่วนทางพลังงานที่สำคัญ” เฮคเกอร์กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในแง่ของความเห็นสาธารณะ อาจมีจุดที่ทำให้เห็นว่ามีความไม่ลงรอยกันในระดับประชาชนต่อประชาชน อ้างอิงจากข้อค้นพบขององค์กร FilterLabs ที่ตั้งอยู่ในสหรัฐฯ

FilterLabs วิเคราะห์ความเห็นผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในจีนและรัสเซียในแง่ความสัมพันธ์รัสเซีย-จีนนี้ และพบว่า ชาวเน็ตมีความเห็นที่ “เต็มไปด้วยความตึงเครียด ไม่เชื่อใจ และผลประโยชน์ที่ไม่ตรงกัน”

วาซิลี กาทอฟ หนึ่งในผู้จัดทำรายงานดังกล่าวระบุกับวีโอเอว่าจีนไม่ได้มองรัสเซียในฐานะหุ้นส่วนที่เท่าเทียมและไว้ใจได้

เขาย้อนไปถึงประวัติการเข้ายึดแคว้นอามูร์จากจีน และนโยบายล่าอาณานิคมของรัสเซียในศตวรรษที่ 19 และ 20 และสรุปว่า “ในความเห็นของผม เป็นไปได้อย่างแน่นอนที่จะมองความไม่ลงรอยทางประวัติศาสตร์ในฐานะจุดเปราะบาง”

อย่างไรก็ตาม อเล็กซานเดอร์ กาบูเอฟ ผู้อำนวยการจากศูนย์คาร์เนกีด้านรัสเซีย-ยูเรเซีย มองว่าเสียงของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ไม่ได้มีอิทธิพลอะไรมากนักต่อการตัดสินใจของรัฐบาลมอสโกและปักกิ่ง

กาบูเอฟมองว่า การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์จากจีนนั้นอาจเป็นสะท้อนแรงจูงใจ ว่ากรุงปักกิ่งเองก็ต้องการการตอบแทน โดยเฉพาะข้อมูลการต่อต้านอาวุธจากชาติตะวันตกที่รัสเซียได้รับจากสงครามในยูเครน

ในโมงยามที่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซียกำลังดีขึ้น หนึ่งในคำถามที่นักวิเคราะห์สนใจก็คือ กระบวนทัศน์ของทรัมป์ที่มีต่อจีน จะมีผลไปถึงขั้นทำให้รัสเซียและจีนห่างเหินกันมากขึ้นได้หรือไม่

อาลี ไวน์ ที่ปรึกษาด้านจีนและสหรัฐฯ จากองค์กร International Crisis Group มองว่าทรัมป์มีทัศนคติที่เป็นมิตรกับผู้นำจีนมากกว่าผู้กำหนดนโยบายสหรัฐฯ ที่ผ่านมาที่มองว่าจีนเป็นคู่แข่งทางยุทธศาสตร์ลำดับต้น ๆ และไวน์เชื่อว่าจุดนี้จะเป็นปัจจัยกำหนดท่าทีของสหรัฐฯ ต่อจีนในสี่ปีนับจากนี้

  • ที่มา: วีโอเอ

กระดานความเห็น

Please enable JavaScript to view the comments powered by Disqus.
Read Entire Article