"สโตนเฮนจ์" ถูกสร้างขึ้นเพื่ออะไร? งานวิจัยล่าสุดเผยคำตอบปริศนากว่า 5,000 ปี

14 hours ago 5
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

สโตนเฮนจ์ในอังกฤษ (Stonehenge) ซึ่งมีอายุกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่ถูกค้นพบในศตวรรษที่ 17 จุดประสงค์ของการสร้างและการจัดเรียงยังคงเป็นปริศนามาโดยตลอด

ล่าสุด การวิจัยล่าสุด ซึ่งถูกเผยแพร่ในวารสาร Archaeology International เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ที่ผ่านมา เผยว่า สโตนเฮนจ์อาจถูกสร้างขึ้นเพื่อรวมชนเผ่าต่าง ๆ ในยุคนั้นเข้าด้วยกัน เนื่องจากมีประชากรจากยุโรปหลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ชาวอังกฤษโบราณจึงได้เคลื่อนย้ายหินขนาดยักษ์หนักกว่า 6 ตัน เดินทางไกลกว่า 700 กิโลเมตรจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสกอตแลนด์มาสู่ที่ตั้งปัจจุบันและสร้างขึ้นใหม่

สโตนเฮนจ์ตั้งอยู่บนที่ราบซอลส์บรี (Salisbury Plain) ทางตอนใต้ของอังกฤษ และเชื่อกันว่าได้รับการสร้างขึ้นในช่วงยุคหินใหม่ระหว่างปี 2620–2480 ก่อนคริสต์ศักราช การวิจัยล่าสุดชี้ว่า สโตนเฮนจ์อาจเป็นวิธีที่ชาวอังกฤษในยุคนั้นใช้ตอบสนองต่อ "วิกฤติความชอบธรรมที่เกิดจากการมีประชากรใหม่หลั่งไหลเข้ามา" และเป็นการรวมกลุ่มเกษตรกรให้มีความสามัคคีกัน

เนื่องจากอังกฤษเป็นประเทศเกาะ มีการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบของประชากรหลายครั้ง ประมาณปี 2500 ก่อนคริสต์ศักราช มนุษย์จากยุโรป โดยเฉพาะจากเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ เริ่มเข้ามาถึงอังกฤษ และสโตนเฮนจ์ก็ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน

การเคลื่อนย้ายหินจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสกอตแลนด์มาทางตอนใต้ของอังกฤษ ยังแสดงให้เห็นถึงเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสังคมโบราณใน 2 พื้นที่ห่างไกลนี้ รวมถึงความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมที่น่าประหลาดใจ

Kris Schulze

จากการวิจัยพบว่า สโตนเฮนจ์เป็นสุสานขนาดใหญ่ที่สุดในยุคนั้น หินขนาดยักษ์ที่มาจากภูมิภาคห่างไกลไม่เพียงแต่เป็นตัวแทนของบรรพบุรุษ แต่ยังสะท้อนถึงแนวคิดเกี่ยวกับบรรพบุรุษด้วย นอกจากนี้ ยังอาจถูกใช้ในด้านศาสนา, ปฏิทินทางดวงอาทิตย์, หรือเป็นหอดูดาวโบราณอีกด้วย ในฤดูหนาว ชาวยุคหินใหม่จะมารวมตัวกันใกล้ๆ สโตนเฮนจ์ พร้อมกับสัตว์เลี้ยงเพื่อร่วมงานเลี้ยงใหญ่

การวิจัยระบุว่า แม้ในยุคนั้นล้อจะได้รับการประดิษฐ์แล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายเข้าสู่อังกฤษ ผู้คนจึงใช้การลากหินขนาดใหญ่ด้วยเลื่อนไม้ที่ถูกวางรางไม้ซ้ำๆ โครงสร้างบางส่วนของเลื่อนอาจใช้พืชพันธุ์เพื่อช่วยลดการสั่นสะเทือน และป้องกันการแตกหักในระหว่างการขนส่งระยะทางไกล

การขนส่งต้องอาศัยการระดมพลจากคนหลายร้อยถึงพันคน ใช้เวลาในการเดินทางถึง 8 เดือน แต่กระนั้นก็ยังสามารถดึงดูดผู้คนให้มาร่วมสังเกตการณ์และเฉลิมฉลองได้

ศาสตราจารย์ไมค์ พาร์กเกอร์ เพียร์สัน ผู้เขียนหลักของการวิจัย และอาจารย์จากสถาบันวิจัยโบราณคดีแห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน กล่าวว่า "สถานที่บนที่ราบซอลส์บรีแห่งนี้ ไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อผู้คนจากทั่วอังกฤษ จนถึงขั้นที่พวกเขาพาหินขนาดใหญ่มากมายเดินทางข้ามหลายร้อยไมล์มาที่นี่"

Read Entire Article