หมอฉุกเฉินจากอเมริกาสอนวิธีเช็กความเสี่ยง "หลอดเลือดโป่งพอง" รู้ทันภัยเงียบในร่างกาย ด้วยท่าง่ายๆ แค่ยืดนิ้วโป้ง
ดร.โจ วิตติงตัน (Dr. Joe Whittington) แพทย์ฉุกเฉินจากแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้แนะนำแบบทดสอบด้วยตัวเองง่าย ๆ ที่อาจช่วยระบุภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) ซึ่งเป็นปัญหาหัวใจอันตรายร้ายแรงที่เปรียบได้กับ “ระเบิดเวลาภายในร่างกาย”
วิธีทดสอบ "นิ้วหัวแม่มือ-ฝ่ามือ":
1.ยกมือขึ้นในลักษณะเหมือนบอกให้คนอื่นหยุด
2. ยืดนิ้วหัวแม่มือข้ามฝ่ามือให้ไกลที่สุด เท่าที่จะทำได้
-
หากนิ้วหยุดที่กลางฝ่ามือ = ปกติ
-
หากนิ้วยืดเลยขอบฝ่ามือออกไป = ผลบวก (อาจเสี่ยงหลอดเลือดโป่งพอง)
ถ้านิ้วเป็นแบบตัวอย่างในภาพคือผลบวก
ผลจากการทดสอบ
ดร.วิตติงตันอธิบายว่า หากนิ้วของคุณยืดเลยขอบฝ่ามือ อาจหมายความว่าเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) ของคุณยืดหยุ่นผิดปกติ ซึ่งเนื้อเยื่อเดียวกันนี้ก็มีอยู่ที่ผนังหลอดเลือด หากมันยืดหยุ่นเกินไปก็อาจเกิดการโป่งพอง และเสี่ยงต่อการ “ฉีกขาด” อย่างรุนแรงได้
ในการศึกษาเมื่อปี 2021 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Cardiology พบว่า 60% ของผู้ป่วยหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง มีผลทดสอบนิ้วหัวแม่มือเป็นบวก
ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองคืออะไร?
-
เป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta) ซึ่งเป็นเส้นเลือดหลักจากหัวใจไปยังร่างกาย บวม/โป่ง
-
หากหลอดเลือดแตก ผู้ป่วยอาจเสียเลือดภายในอย่างรุนแรงและเสียชีวิตได้ทันที หากไม่ได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน
อาการเตือนบางอย่าง (หากมี):
-
เจ็บหน้าอก คอ หรือหลัง
-
ศีรษะ คอ หรือแขนบวม
-
หายใจลำบาก ไอ หรือไอเป็นเลือด
อย่างไรก็ตาม ดร.วิตติงตันแนะนำว่า “หากคุณมีผลทดสอบเป็นบวก อย่าเพิ่งตกใจ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม โดยเฉพาะโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน”
โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือด
-
Marfan Syndrome
-
ผู้ป่วยมีโอกาสสูงถึง 250 เท่าในการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด
-
อาการ: ใบหน้าเรียวยาว แขนขา/นิ้วยาวผิดสัดส่วน ฟันแออัด หัวใจเต้นเร็ว สายตาเอียง หายใจลำบาก
-
-
Ehlers-Danlos Syndrome (EDS)
-
กลุ่มโรคพันธุกรรมที่ส่งผลต่อผิวหนัง ข้อต่อ และหลอดเลือด
-
แบบที่พบบ่อยที่สุดคือ “ชนิดข้อต่อยืดหยุ่น” (Hypermobile EDS หรือ hEDS)
-
-
Loeys-Dietz Syndrome
-
โรคพันธุกรรมที่ส่งผลต่อหลอดเลือดแดงใหญ่ ทำให้เสี่ยงหลอดเลือดโป่งพองและฉีกขาด
-
ข้อมูลเพิ่มเติม
-
ในสหราชอาณาจักร มีผู้เสียชีวิตจากปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดแดงใหญ่มากถึง 5,000 คนต่อปี
-
แม้ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการจนกว่าจะเกิดภาวะฉุกเฉิน แต่การตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ จะสามารถป้องกันได้ด้วยการใช้ยาควบคุมความดันโลหิต หรือการผ่าตัดเฉพาะทาง
แบบทดสอบนิ้วหัวแม่มือ-ฝ่ามือแม้จะดูง่าย แต่สามารถช่วยชี้เบาะแสของโรคร้ายแรงได้ ควรปรึกษาแพทย์หากพบผลบวก เพื่อตรวจร่างกายเพิ่มเติม และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต