หมอย้ำ 4 อาหาร "ไม่ควร" กินพร้อมหัวไชเท้า แต่หลายบ้าน-หลายร้าน ยังต้มรวมหม้อเดียวกัน!

1 week ago 4
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

แพทย์แผนจีน เตือน 4 อาหาร "ไม่ควร" ทานร่วมกับหัวไชเท้า และกลุ่มคนที่ควรหลีกเลี่ยงการทาน

ตามคำกล่าวของ "Bùi Đắc Sáng" ผู้เชี่ยวชาญจากจากสมาคมแพทย์แผนจีนแห่งกรุงฮานอย หัวไชเท้าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ถูกเปรียบเสมือนกับโสมขาว ในหัวไชเท้า 100 กรัม มีพลังงาน 20 แคลอรี่, น้ำตาล 0.5 กรัม, ไขมัน 0.2 กรัม, ธิอะมีน 0.045 มิลลิกรัม, ไรโบฟลาวิน 0.072 มิลลิกรัม, ไนอะซิน 0.11 มิลลิกรัม, กรดแพนโทธีนิก 0.274 มิลลิกรัม, วิตามินB6 0.18 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม และแมงกานีส 0.37 มิลลิกรัม

ส่วนประกอบทางโภชนาการของหัวไชเท้ามีสารที่ช่วยเสริมความสามารถของร่างกายในการต้านมะเร็ง โดยเฉพาะเอนไซม์ที่สามารถขจัดสารพิษที่ก่อมะเร็งได้ อีกทั้งยังป้องกันโรคหัวใจ ดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน การมองเห็น กระดูกและผิวหนัง การทานหัวไชเท้าช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลสูง ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคต้อกระจก

อย่างไรก็ดี หัวไชเท้าขาวแม้ว่าจะดีต่อสุขภาพ แต่ก็ควรทานในปริมาณที่พอเหมาะเท่านั้น เพราะการทานมากเกินไปอาจทำให้ระบบย่อยอาหารผิดปกติและทำให้ท้องอืดได้ และย้ำว่าไม่ใช่ทุกคนที่สามารถทานได้ประโยชน์ โดยเฉพาะใน "ผู้หญิงตั้งครรภ์" การทานมากเกินไปจะทำให้บ่อยครั้งในการปัสสาวะ และอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรทานหัวไชเท้าขาวสุก 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น และไม่ควรกินหัวไชเท้าดิบ เช่นในสลัดหรือผักดอง

นอกจากนี้ ยังเตือนด้วยว่ามีอาหารบางประเภทที่ "ไม่ควร" รับประทานร่วมกับหัวไชเท้า เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

ผลไม้ที่มีเซเลเนียม (Selenium) : เช่น ลูกแพร์, แอปเปิ้ล, องุ่น ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับกรดไซยาโนเจนจากหัวไชเท้าขาว ทำให้เกิดอาการคอพอก หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติได้หากทานร่วมกันบ่อยๆ

โสม : หัวไชเท้าขาวมีคุณสมบัติเป็นเย็นในแง่ของการแพทย์แผนจีน ในขณะที่โสมมีคุณสมบัติร้อน หากทานร่วมกันอาจทำให้สารอาหารในทั้งสองชนิดถูกทำลายซึ่งกันและกัน นอกจากนี้หลังจากดื่มโสมแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารทะเลหรือดื่มชาด้วย

แครอท : หัวไชเท้าขาวมีวิตามินซี แต่แครอทมีเอนไซม์ที่ทำลายวิตามินซี ดังนั้น การทานร่วมกันจะทำให้วิตามินซีในหัวไชเท้าถูกทำลายไป

เห็ดหูหนู : การทานเห็ดหูหนูกับหัวไชเท้า อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาทางสุขภาพที่ซับซ้อน เช่น อาการแพ้ หรือผิวหนังอักเสบ

 

Read Entire Article