หมอหมูเตือน "รักแร้ดำ" ไม่ใช่แค่เรื่องความสวย แต่อาจเป็นสัญญาณ "โรคร้าย"

2 weeks ago 10
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

หมอหมูเตือน "รักแร้ดำ" ไม่ใช่แค่เรื่องความสวย แต่ร่างกายอาจกำลังส่งสัญญาณ "โรคร้าย" เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

ปัญหา "รักแร้ดำ" เป็นเรื่องความสวยความงามที่รบกวนจิตใจ โดยเฉพาะในหมู่สาว ๆ ที่ชอบใส่เสื้อแขนกุด ล่าสุด หมอหมู หรือ รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี  อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้โพสต์เตือนว่า อาการรักแร้ดำ อาจไม่ใช่แค่ปัญหาผิวพรรณ หากแต่เป็น สัญญาณเตือนของโรคบางชนิด ที่ไม่ควรมองข้าม โดยระบุว่า… 

รักแร้ดำ = แค่ไม่สวย? หรือร่างกายกำลังส่งสัญญาณโรคร้าย!  

ผิวหนังบริเวณรักแร้ที่มีสีคล้ำผิดปกติ หรือที่หลายคนเรียกว่า “รักแร้ดำ” ไม่ได้เกิดจากการเสียดสีหรือโกนขนเท่านั้น แต่ในบางกรณี อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับ ระบบเผาผลาญ ฮอร์โมนและอินซูลินได้ เช่น ภาวะดื้อต่ออินซูลิน หรือ เบาหวานชนิดที่ 2 

โรคที่สัมพันธ์กับ “รักแร้ดำ” (Acanthosis Nigricans) 

1. ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) / โรคเบาหวานชนิดที่ 2 

2. โรคอ้วน (Obesity) 

3. ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ในผู้หญิง ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism) หรือความผิดปกติของต่อมหมวกไต (เช่น Cushing’s Syndrome) ก็สามารถทำให้เกิดได้ เนื่องจากภาวะเหล่านี้ส่งผลต่อระดับอินซูลินหรือฮอร์โมนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของผิวหนัง 

4. ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์ หรือยารักษาภาวะดื้อต่ออินซูลินบางชนิด อาจเป็นผลข้างเคียงให้เกิดได้ชั่วคราว  

5. มะเร็ง เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร (หายากแต่ร้ายแรง) 

รักแร้ดำแบบไหนที่ควรกังวล? 

1. ผิวคล้ำเรียบจากการเสียดสี / โกนขน แบบนี้ ปกติ ไม่มีผลอันตราย 

2. ผิวดำ หนา สาก คล้ายกำมะหยี่ + มีประวัติน้ำหนักขึ้นเร็ว อันนี้ควรตรวจน้ำตาล และฮอร์โมน 

3. รักแร้ดำ+ปวดท้อง+น้ำหนักลดเร็ว อาจต้องคัดกรองมะเร็งในช่องท้อง (ในรายที่มีปัจจัยเสี่ยง) 

สรุปแล้วหากเช็กแล้วพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวมี รักแร้คล้ำ หนา สากขึ้นอย่างผิดปกติ อย่ามองว่าเป็นแค่ ‘ปัญหาความงาม’ เพราะมันอาจบ่งชี้ถึง โรคเบาหวาน ดื้อต่ออินซูลิน หรือ ความผิดปกติของฮอร์โมน แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจเลือด ตรวจระดับน้ำตาล และฮอร์โมน เพื่อคัดกรองก่อนสายเกินไป 

Read Entire Article