เด็ก 7 ขวบทำน้ำหกบนรถ Tesla โชเฟอร์เรียกเงิน 4 หมื่น แถม"พูดเหยียด" พ่อแม่รับไม่ได้

9 hours ago 2
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

เด็กหญิงทำขวดน้ำหกใน Tesla คนขับเรียกเงิน 4.1 หมื่น แถมพูดจาหยามเหยียดพ่อแม่ ทนายลั่น "ระวังติดคุกซะเอง"

เกิดเหตุการณ์ชวนตกใจที่ไต้หวัน เมื่อเด็กหญิงนักเรียนประถมทำขวดน้ำหกในรถ Tesla ขณะโดยสาร Uber กลับจากโรงเรียน คนขับกลับเรียกค่าเสียหายถึง 41,000 บาท และยังพูดจาดูถูกผู้ปกครอง จนชาวเน็ตวิจารณ์ยับ

เหตุเกิดขึ้นในเมืองเกาสง ไต้หวัน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา เด็กหญิงวัยประถมคนหนึ่งโดยสาร Uber ไปยังโรงเรียนกวดวิชา ระหว่างทางเธอเผลอทำขวดน้ำปริมาณ 300 ซีซี หกใส่พื้นรถโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งเป็นรถยนต์ Tesla 

คนขับเรียกค่าเสียหายเป็นเงินถึง 41,000 ดอลลาร์ไต้หวัน (ประมาณ 47,000 บาทไทย) พร้อมโชว์ใบเสนอราคาจาก “ศูนย์บริการตัวถัง Tesla เขตภาคใต้” ที่ประเมินค่าซ่อมรวมทั้งหมดอยู่ที่ 15,215 ดอลลาร์ไต้หวัน (ประมาณ 17,300 บาท)

ชาวเน็ตเดือด คนขับพูดจาหยาบคายใส่ผู้ปกครอง

เหตุการณ์ยิ่งทวีความร้อนแรง เมื่อแม่ของเด็กโพสต์ขอคำปรึกษาบนโลกออนไลน์ แต่คนขับกลับคอมเมนต์แรงว่า “ถ้าคุณกับสามีช่วยกันเลียน้ำที่หกออกให้หมด ผมจะยอมยกโทษให้” ทำให้ชาวเน็ตจำนวนมากไม่พอใจ และมองว่าเป็นการเหยียดหยามผู้ปกครองอย่างรุนแรง

ทนายชี้ อาจไม่ต้องจ่ายแม้แต่บาทเดียว แถมคนขับเสี่ยงโดนข้อหาหมิ่นประมาท

ด้าน ทนายความชื่อดัง ฮวง ป๋อหรง ให้ความเห็นผ่านเฟซบุ๊กว่า หากน้ำหกเพียงแค่ลงบนพรมรถเท่านั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นน่าจะอยู่ในขอบเขต “ความรับผิดทางแพ่ง” และอาจต้องพิจารณาว่าเกิดจากเจตนาหรือความประมาทเลินเล่อ ซึ่งหากเป็นกรณีหลัง ก็จะต้องรับผิดเพียงค่าทำความสะอาดเท่านั้น

ทนายฮวงยังเสริมว่า หากเด็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบ ถือเป็น “ผู้ไร้ความสามารถ” ตามกฎหมาย เด็กจึงไม่ต้องรับผิดใด ๆ และผู้ที่ต้องรับผิดแทนคือผู้ปกครองโดยชอบธรรม

ที่สำคัญ หากตัวเลข 41,000 ดอลลาร์ไต้หวัน เป็นเพียงตัวเลขที่คนขับพูดขึ้นมาเอง โดยไม่มีใบเสร็จหรือหลักฐานแสดงความเสียหายจริง ๆ ก็ “ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องแม้แต่เหรียญเดียว” ตามหลักกฎหมาย ต้องมีใบเสนอราคา พร้อมอธิบายเหตุแห่งความเสียหายอย่างชัดเจน และต้องมีความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์จริง

ประโยค “เลียน้ำให้หมด” เสี่ยงผิดกฎหมายอาญา ฐานดูหมิ่นในที่สาธารณะ

ในประเด็นคำพูดของคนขับที่ว่า “เลียน้ำให้หมด” ทนายฮวงระบุว่า หากคำพูดดังกล่าวพูดในพื้นที่สาธารณะหรือโพสต์สาธารณะ อาจเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายอาญา ฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า เพราะถือว่าเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสามารถฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 195 ของประมวลกฎหมายแพ่ง

อย่างไรก็ตาม ถ้าคนขับไม่ได้ใช้กำลังบังคับหรือขัดขวางการเดินทางของผู้โดยสาร ไม่ได้กักขังหรือบังคับให้ทำตามคำพูด ก็จะไม่เข้าข่ายความผิดฐานบังคับขืนใจ

กรณีนี้จึงกลายเป็นตัวอย่างที่สะท้อนถึงการใช้ถ้อยคำและพฤติกรรมในที่สาธารณะ ที่อาจย้อนกลับมาเป็นผลทางกฎหมายได้

ที่มา: Mirror Media

Read Entire Article