เตือนลูกหลาน! หมอแล็บฯ โพสต์ "ก๊าซหัวเราะ" ไม่ใช่แค่เคลิ้ม-หลอน แต่อาจได้เป็นคนพิการ

4 weeks ago 13
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

กลับมาระบาดอีกแล้ว! หมอแล็บฯ เตือนอย่าหาลอง "ก๊าซหัวเราะ" ไม่ได้แค่ทำให้เคลิ้ม-เห็นภาพหลอน แต่เสี่ยงโรคหัวใจ กลายเป็นคนพิการทั้งชีวิต

จากกรณีพบ “ลูกโป่งแก๊สหัวเราะ” หรือแก๊สไนตรัสออกไซด์ กำลังระบาดในสถานบันเทิงต่างๆ ภายในประเทศไทย โดยมีผู้ลักลอบนำมาใช้ผิดประเภท โดยนำไปบรรจุใส่ลูกโป่งจำหน่ายให้นักท่องเที่ยว เพื่อสูดดมสร้างความเคลิบเคลิ้ม มึนเมา ใช้ทดแทนยาเสพติดประเภทอื่น โดยสามารถหาซื้อง่ายและมีราคาไม่แพง

ต่อมา (3 ม.ค.68) ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ชื่อดัง ได้ออกมาโพสต์ประเด็นดังกล่าวผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก หมอแล็บแพนด้า   โดยระบุว่า เคยเห็นกระป๋องก๊าซที่เค้าใช้กับวิปปิ้งครีมมั้ยครับ! นั่นแหละ ข้างในหลอดมันจะมี "ก๊าซไนตรัสออกไซด์" อยู่ในนั้น

ทีนี้ตามสถานบันเทิงเค้าจะเอาก๊าซตัวนี้ใส่เข้าไปในลูกโป่งแล้วขายลูกค้า พอลูกค้าสูดดมเข้าไป จะมีอาการเคลิบเคลิ้ม สงบ เริ่มคิดอะไรไม่ออกแล้วหัวเราะกับสิ่งที่เกิดขึ้น เกิดภาพหลอนได้ ถ้าสูดดมในพื้นที่ปิดจะทำให้เสี่ยงต่อสลบ หรือขาดออกซิเจนได้

ปกติไนตรัสออกไซด์จะออกฤทธิ์ไม่เกิน 5 นาทีครับ แล้วมันจะค่อยๆคลายตัว แต่ปัญหาคือถ้าบางคนใช้ต่อเนื่องใช้เป็นประจำ กล้ามเนื้อหัวใจอาจจะขาดออกซิเจน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นโรคหัวใจเฉียบพลันทันทีก็ได้ เสี่ยงพิการตลอดชีวิตได้

หรือถ้าประสาทหลอนหูแว่ว อาจเดินออกไปกลางถนนโดนรถชนหรือเฉี่ยว บางคนเป็นโรคหลอดเลือดสมองที่มีการใช้ไนตรัสออกไซด์ แล้วเกิดอาการทางจิตเวชขึ้นอย่างเฉียบพลันก็มีครับ อย่าหาลอง มันกลับมาระบาดอีกแล้วคร้าบ

ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ผู้ที่นำแก๊สหัวเราะมาจำหน่าย ถือว่ามีความผิด ข้อหาผลิตหรือขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท และหากแก๊สไนตรัสออกไซด์ที่นำมาใช้เป็นยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ผู้ผลิตหรือผู้ขายจะมีความผิดในข้อหาผลิตหรือขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับด้วย

สำหรับประชาชนที่พบเห็นการลักลอบจำหน่ายลูกโป่งเเก๊สหัวเราะ หรือพบเห็นการกระทำความผิดกฎหมายในลักษณะอื่นใด สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วน ปคบ.1135 หรือเพจเฟซบุ๊ค ปคบ. เตือนภัยผู้บริโภค ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

Read Entire Article