การสูด "ฝุ่นพิษ" จากงานตัดแผ่นหินเฟอร์นิเจอร์ ทำให้ชายวัย 48 ต้องทนทุกข์ทรมานกับความเจ็บปวดที่ไม่อาจจินตนาการได้
"มาเร็ค มาร์เซค" ชายชาวโปแลนด์ อายุ 48 ปี กำลังเข้ารับการดูแลในช่วงสุดท้ายของชีวิต อยู่ที่โรงพยาบาลในลอนดอนหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซิลิโคสิส (Silicosis) หรือโรคปอดฝุ่นหิน เมื่อเดือนเมษายน 2024 หลังจากทำงานกับเคาน์เตอร์ควอตซ์ที่บริษัทผลิตหินมานานกว่า 10 ปี
มาร์เซคผู้ใช้เวลา 12 ปี ในลอนดอนและฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ บ่นเกี่ยวกับสภาพการทำงานที่ไม่ดี โดยบอกว่าเขาเป็นเพียงหนึ่งในคนงานจำนวนมากที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอันตรายนี้ หลังจากสูดดมฝุ่นพิษเป็นเวลานาน ผ่านทางงานตัดควอตซ์หรือเคาน์เตอร์หินเทียมเป็นเวลาหลายปี
การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า คนงานเหมืองต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคซิลิโคซิสเฉียบพลัน ซึ่งอาจทำให้หายใจลำบากอย่างรุนแรง และการปลูกถ่ายปอดเป็นเพียงการรักษาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มาร์เซคอ่อนแอเกินกว่าจะรับการผ่าตัดเช่นนี้ เจ้าตัวยังบอกด้วยว่าเขา "เจ็บปวดสาหัส" และหายใจไม่ออกเพราะงาน
“ผมมาอังกฤษโดยหวังว่าจะสร้างชีวิตที่ดีขึ้น และต้องการแน่ใจว่าลูกสาวตัวน้อยของผมมีความมั่นคงทางการเงิน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากงานของผมในการตัดเคาน์เตอร์ครัวควอตซ์ ผมจึงต้องสูญเสียความสามารถในการหายใจ และทนทุกข์ทรมานกับความเจ็บปวดสาหัส ….ชีวิตของผมสั้นลงเพียงเพราะงานนี้ และผมไม่ใช่คนเดียวที่ถูกคุกคามจากฝุ่นร้ายแรงนี้”
มาร์เซคอ้างว่านายจ้างของเขาไม่มีสภาพการทำงานที่ปลอดภัย และไม่ได้ดำเนินการลดอันตรายหรือใช้มาตรการป้องกันเพื่อลดผลกระทบของฝุ่นละอองพิษให้เหลือน้อยที่สุด “ไม่มีใครควรต้องเผชิญกับผลลัพธ์ที่เลวร้ายที่สุดเพียงเพราะไปทำงาน”
ซิลิโคซิสคืออะไร?
ซิลิโคซิส เป็นโรคปอดเรื้อรังที่เกิดจากการสูดดมฝุ่นซิลิกาที่เป็นผลึกจำนวนมาก ซึ่งมักจะคงอยู่นานหลายปี เมื่อเข้าไปในปอดจะทำให้เกิดอาการบวม (อักเสบ) และค่อยๆ ทำให้เนื้อเยื่อปอดแข็งบริเวณที่เป็นแผลเป็น (พังผืด) และไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
โดยผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมดังต่อไปนี้มีความเสี่ยงเป็นพิเศษ การก่อสร้างหินและการตัดหิน โดยเฉพาะกับหินทราย, การก่อสร้างและการรื้อถอน เนื่องจากการสัมผัสกับคอนกรีตและวัสดุปูพื้น, ผลิตและติดตั้งท็อปครัวและโต๊ะในครัว, การผลิตเซรามิก เครื่องลายคราม และแก้ว รวมทั้งงานเหมืองแร่ด้วย
อาการของซิลิโคสิสมักใช้เวลาหลายปีจึงจะปรากฏ และผู้ป่วยอาจไม่สังเกตเห็นปัญหาใดๆ กระทั่งเมื่ออาการอาจแย่ลงเรื่อยๆ แม้ว่าบุคคลนั้นจะไม่ได้สัมผัสกับเชื้อโรคอีกต่อไปแล้วก็ตาม โดยอาการหลักของซิลิโคซิสคือ ไอมีเสมหะ หายใจลำบากอย่างต่อเนื่อง แน่นหน้าอก และเหนื่อยล้าเป็นเวลานาน
ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องสัมผัสกับฝุ่นเป็นประจำ โดยเฉพาะคนที่ทำงานในโรงงานและไซต์ก่อสร้างที่มีฝุ่นซิลิกา จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยและชุดป้องกันขณะทำงาน, ห้ามรับประทานอาหารหรือดื่มในหรือใกล้บริเวณที่มีฝุ่นซิลิกา, อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าหลังเลิกงาน และหากเป็นไปได้ควรใช้วิธีการที่ทำให้เกิดฝุ่นน้อยที่สุด
- ซื้อไม่ใช่ถูกๆ โซฟาราคา 14,000 นั่งแล้วมี "รอยกัด" ยับเยินทั้งตัว ส่องดูข้างในถึงกับสยอง
- เคล็ดลับ "น้ำมหัศจรรย์" เทลงเครื่องซักผ้า 1 ถ้วย ขจัดกลิ่น-คราบเหลืองเกลี้ยง รู้งี้ทำนานแล้ว!