ทารกวัย 4 เดือน "คอเอียง" เพราะปล่อยให้ทำ 1 สิ่งเร็วเกินไป พ่อแม่ไม่รู้ผลร้าย ยังแข่งกันชม!

2 weeks ago 6
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

พ่อแม่ภูมิใจ ลูกชายวัย 4 เดือน พัฒนาการเร็วกว่าทารกคนอื่นๆ สุดท้าย "คอเอียง" หมอรู้ปล่อยให้เด็กทำอะไรถึงกับกุมหัว ยังไม่ถึงวัย!

สื่อเวียดนามรายงานกรณีของเด็กชายวัย 4 เดือน ที่มาพบแพทย์ด้วยอาการคอเอียง หลังจากครอบครัวตกใจเมื่อพบว่าศีรษะเอียงไปข้างหนึ่ง ขณะที่ผลการตรวจพบว่าเด็กมีอาการ "คอเอียงอย่างชัดเจน" แต่ยังคงมีการตอบสนองดี ร่าเริงและกระฉับกระเฉง ไม่พบความเสี่ยงของโรคทางพันธุกรรมหรือโรคกล้ามเนื้อเสื่อม

ดร.โด่ ถี่ หลาน (Đỗ Thị Lan) แพทย์จากภาควิชาเวชศาสตร์แผนจีนและการฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงพยาบาลเด็กฮาลอง ประเทศเวียดนาม เปิดเผยว่า จากการสอบประวัติจากผู้ปกครองพบว่า ครอบครัวเริ่มให้เด็ก "ฝึกพลิกคว่ำ" ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 2 เดือน

ในตอนนั้นครอบครัวรู้สึกดีใจและให้กำลังใจเด็กในการทำกิจกรรมนั้น เด็กมักจะอยู่ในท่าคว่ำและยกหัวขึ้น เมื่อรู้สึกเมื่อยก็จะลดตัวลงเอง พ่อแม่คิดว่าเด็กจะต้องมีคอที่แข็งแรงถึงจะพลิกได้ จึงสนับสนุนให้ทำซ้ำๆ กระทั่งลูกอายุ 4 เดือน ก็เริ่มสังเกตเห็นอาการคอเอียง แต่คิดว่าจะหายไปเอง อย่างไรก็ดี ผ่านไป 2 สัปดาห์ อาการคอเอียงยังไม่ดีขึ้น จึงต้องพามาพบแพทย์

คุณหมอกล่าวว่า เด็กคนนี้เริ่มพลิกคว่ำเร็วเกินไป ในขณะที่กล้ามเนื้อคอยังอ่อนแอ อีกทั้งเมื่อเด็กพลิกคว่ำไม่ได้รับการช่วยเหลือในการประคองหัวและคอ ทำให้กล้ามเนื้อคออ่อนแรงและเมื่อยล้า ส่งผลให้เกิดการเอียงของคอไปข้างหนึ่ง อาการนี้เกิดจากความผิดพลาดในการดูแล สุดท้ายหลังจากการรักษา 20 วัน อาการคอเอียงของเด็กก็ดีขึ้น ส่วนผู้ปกครองก็ได้รับคำแนะนำในการดูแลลูกอย่างถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงท่าที่จะทำให้คอเอียงกลับมาอีก

ทั้งนี้ ปัจจุบันผู้ป่วยที่ประสบกับอาการคอเอียงเนื่องจากท่าทางที่ผิดหลายราย โดยส่วนใหญ่พบในเด็กวัย 4-6 เดือน สาเหตุคือฝึกพลิกคว่ำเร็วเกินไป การอุ้มเด็กในท่าผิด หรือให้เด็กดูทีวีมากเกินไป ดังนั้น ผู้ปกครองควรให้เด็กฝึกท่าทางที่เหมาะสมกับพัฒนาการ และเมื่อให้นมควรให้เด็กดูดนมทั้งสองข้างอย่างเท่าเทียม เมื่อเด็กเริ่มพลิกคว่ำไม่ควรให้เด็กอยู่ในท่าคว่ำและยกหัวนานเกินไป และหลีกเลี่ยงการให้เด็กนอนหันหัวไปข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน

คุณหมอกล่าวว่า "ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีมาก ผู้ปกครองหลายคนเริ่มให้เด็กดูทีวีตั้งแต่ยังเล็ก แต่ควรจำกัดเวลาการดูทีวีของเด็ก เพื่อหลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าที่นิ่งนานเกินไป ซึ่งอาจทำให้คอเด็กเมื่อยและเอียงได้ ควรส่งเสริมให้เด็กได้เคลื่อนไหวและพัฒนาทักษะทั้งทางร่างกายและจิตใจ"

ซึ่งหากเด็กมีอาการคอเอียงและไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง อาจจะไม่หายหรืออาจมีอาการแย่ลง ดังนั้น หากผู้ปกครองพบว่าเด็กมีปัญหากับกระดูกสันหลังคอ ควรพาเด็กไปพบแพทย์เร็วๆ การรักษาคอเอียงที่เกิดจากท่าทางผิดสามารถรักษาหายได้หลังจากฟื้นฟูสมรรถภาพ แต่หากเกิดจากปัญหาทางการแพทย์ อาจต้องได้รับการตรวจและการรักษาอย่างละเอียด โดยกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพอาจต้องใช้เวลานาน

Read Entire Article