ภัยเงียบ "เครื่องปรุง" ที่มีทุกบ้าน นอกจากไม่ดีต่อไต ยังเต็มไปด้วย "ไมโครพลาสติก"

3 weeks ago 11
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

 เครื่องปรุงที่ทุกบ้านขาดไม่ได้ วัตถุดิบสำคัญของคนทั่วโลก นอกจากไม่ดีต่อไต ยังเต็มไปด้วย "ไมโครพลาสติก"

“เกลือ” ถือเป็นเครื่องปรุงที่อยู่ในทุกครัวทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเมนูใดๆ ต่างก็ขาดเกลือไม่ได้ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ มากมาย แต่ใครจะรู้ว่าสิ่งที่มองไม่เห็นที่เจือปนอยู่ในเกลืออาจกำลังซ่อนภัยเงียบที่สะสมในร่างกายโดยไม่รู้ตัว

งานวิจัยจากวารสารวิทยาศาสตร์ Science of The Total Environment (2023) เผยว่า

“เกลือบริโภคจากหลากหลายประเทศทั่วโลกพบการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในทุกตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์” โดยพบไมโครพลาสติกเฉลี่ย 700 – 5,470 อนุภาคต่อกิโลกรัมของเกลือ  เกลือ 1 ช้อนชา อาจมีไมโครพลาสติกหลายร้อยอนุภาค

ไมโครพลาสติก (Microplastics)

คือพลาสติกขนาดเล็กจิ๋วที่มองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น (ขนาดเล็กกว่า 5 ไมโครเมตร หรือประมาณ 1/70 ของเส้นผม) มันสามารถมาจากขวดพลาสติก ถุงพลาสติก ไปจนถึงเส้นใยจากเสื้อผ้า ซึ่งสุดท้ายก็ไหลลงทะเล ก่อนจะเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร และวนกลับมาที่โต๊ะอาหารของเรา

ไมโครพลาสติกยังปนเปื้อนอยู่ในอาหารทะเล โดยพบอนุภาคขนาดเล็กกว่า 1 มม. ในหอยแมลงภู่ หอยนางรม และสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง นอกจากนี้ ยังมีการตรวจพบว่า กว่า 1 ใน 4 ของปลาที่วางขายในตลาดที่อินโดนีเซียและแคลิฟอร์เนียมีไมโครพลาสติกอยู่ในตัว

แม้แต่น้ำใต้ดินในชั้นหินปูนของรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ก็พบไมโครพลาสติกเฉลี่ย 15 อนุภาคต่อลิตร ซึ่งน้ำใต้ดินประเภทนี้ถือเป็นแหล่งน้ำดื่มของคนทั่วโลกถึงประมาณ 1 ใน 4

ในปี 2018 องค์กร Greenpeace ได้สุ่มตรวจเกลือบริโภค 39 ตัวอย่างจาก 21 ประเทศ พบว่าเกลือเพียง 3 ตัวอย่างเท่านั้นที่ไม่ปนเปื้อนไมโครพลาสติก ส่วนที่เหลือมีการปนเปื้อนทั้งหมด

มากกว่า 90% ของเกลือที่จำหน่ายทั่วโลกมีไมโครพลาสติกปนเปื้อน โดยเกลือจากภูมิภาคเอเชียมีระดับไมโครพลาสติกสูงที่สุด และในบรรดาเกลือทั้งหมด "เกลือทะเล" มีไมโครพลาสติกมากที่สุด รองลงมาคือเกลือที่ได้จากทะเลสาบ และเกลือหิน

Greenpeace ประเมินว่า หากผู้ใหญ่บริโภคเกลือวันละ 10 กรัม ร่างกายจะได้รับไมโครพลาสติกมากถึง 2,000 อนุภาคต่อปี

เกลือไม่ดีต่อไตอยู่แล้ว ไมโครพลาสติกยิ่งทำร้ายร่างกายมากขึ้น

การบริโภคเกลือมากเกินไป ส่งผลต่อ ความดันโลหิตสูง ไตทำงานหนัก เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง

แต่สิ่งที่น่ากังวลไม่แพ้กันคือ “ไมโครพลาสติก” ที่สะสมในร่างกาย แม้ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงผลกระทบระยะยาว แต่ไมโครพลาสติกอาจรบกวนการทำงานของระบบย่อยอาหาร เมตาบอลิซึม ภูมิคุ้มกัน และระบบประสาท

ต้องทำอย่างไร?

แม้ยังไม่มีวิธีกรองไมโครพลาสติกออกจากเกลือด้วยตัวเองได้ แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการ

  • ลดปริมาณการบริโภคเกลือลง

  • หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปและอาหารสำเร็จรูป

  • เลือกเกลือจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน

  • สนับสนุนแนวทางลดการใช้พลาสติก

 

 

Read Entire Article