นักวิจัยเตือน กินเนื้อสัตว์ 1 ประเภทนี้ แค่สัปดาห์ละ 2 มื้อ ก็เสี่ยงเบาหวานใกล้ฉัน ภัยเงียบที่ไม่ได้มาในรูปแบบของหวานหรือน้ำตาล
"เนื้อแดง" เป็นส่วนหนึ่งของอาหารมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณ เป็นแหล่งโปรตีน วิตามิน (เช่น วิตามินบี) และแร่ธาตุต่าง ๆ (เช่น ธาตุเหล็กและสังกะสี) ที่ดีเยี่ยม
แต่อย่างไรก็ตาม เนื้อแดงมีความเกี่ยวข้องมายาวนานกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อโรคหัวใจ มะเร็ง และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร สิ่งที่หลายคนอาจยังไม่รู้คือ ความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคเนื้อแดงกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2
เนื้อแดง ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อแพะ เนื้อกวาง เนื้อเป็ดและห่าน
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คืออะไร?
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเบาหวานที่พบได้มากที่สุด และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ร้ายแรง มีผู้ป่วยทั่วโลกประมาณ 462 ล้านคน เกิดขึ้นเมื่อร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือไม่มีประสิทธิภาพ ร่วมกับภาวะของการดื้ออินซูลินที่มาจากภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน หรือมีไขมันสะสมในอวัยวะภายในเยอะ ทำให้น้ำตาลกลูโคสจากอาหารที่รับประทานเข้าไปไม่ถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน และหลงเหลือในหลอดเลือด ซึ่งสามารถสร้างความเสียหาย หรือก่อให้เกิดโรคอันตรายที่เกี่ยวกับหลอดเลือด เส้นประสาทในอนาคตได้ เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อโรคหัวใจ ไต มะเร็ง และภาวะสมองเสื่อม
โดยส่วนมากมักพบในผู้ใหญ่วัยกลางคน แต่ทั้งนี้ก็สามารถพบในเด็กและวัยรุ่นได้เช่นกันแต่จะพบได้ในสัดส่วนน้อยกว่า สำหรับการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ ส่วนใหญ่รักษาด้วยการรับประทานยาเพื่อควบคุมน้ำตาล หรือในบางรายอาจต้องฉีดยาอินซูลินเพื่อรักษาระดับสมดุลของอินซูลิน เพื่อให้ร่างกายได้นำน้ำตาลกลูโคสออกมาใช้ได้ดีขึ้นนั่นเอง
อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยตับอ่อน ซึ่งช่วยให้กลูโคสจากเลือดเข้าสู่เซลล์ ถ้ากลูโคสสะสมในเลือดมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการ เช่น กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย และอ่อนเพลีย หากเป็นเรื้อรัง อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่น เส้นประสาทเสีย โรคหัวใจ และปัญหาเท้า
วิจัย 2 ล้านคน พบความเชื่อมโยงเบาหวานกับเนื้อแดง
บทความหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet เมื่อเดือนกันยายน 2024 ได้เน้นย้ำความเชื่อมโยงนี้ โดยใช้ข้อมูลจากอเมริกา ยุโรป เมดิเตอร์เรเนียน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิกตะวันตก รวม 20 ประเทศ
ในการศึกษาล่าสุดที่มีผู้เข้าร่วมเกือบ 2 ล้านคน พบว่า การบริโภคเนื้อแดงไม่แปรรูป (เช่น เนื้อวัว แกะ หมู) และ เนื้อสัตว์แปรรูป (เช่น เบคอน ซาลามี โชริโซ) ในปริมาณมาก มีความเชื่อมโยงกับอัตราเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
นักวิจัยยังพบว่า การบริโภคเนื้อไก่ก็มีความเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยเช่นกัน แต่ความเชื่อมโยงนั้นอ่อนกว่า และแตกต่างกันไปตามประชากร
2 มื้อต่อสัปดาห์ก็เสี่ยงแล้ว
คนที่บริโภคเนื้อแดงเพียง 2 มื้อต่อสัปดาห์ อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เมื่อเทียบกับผู้ที่บริโภคน้อยกว่านั้น และยิ่งบริโภคมาก ความเสี่ยงก็ยิ่งสูงขึ้น ตามผลการศึกษาฉบับใหม่ที่นำโดยนักวิจัยจาก Harvard T.H. Chan School of Public Health
การศึกษายังพบว่า การแทนที่เนื้อแดงด้วยแหล่งโปรตีนจากพืชที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ถั่วเปลือกแข็งและพืชตระกูลถั่ว หรือแม้กระทั่ง ผลิตภัณฑ์นมในปริมาณพอเหมาะ มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ลดลง
งานวิจัยนี้ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ในวารสาร The American Journal of Clinical Nutrition
“ผลการวิจัยของเราสนับสนุนคำแนะนำด้านโภชนาการที่แนะนำให้ จำกัดการบริโภคเนื้อแดง ทั้งแบบแปรรูปและไม่แปรรูป” Xiao Gu ผู้เขียนนำ และนักวิจัยหลังปริญญาเอก ภาควิชาโภชนาการ
แม้มีงานวิจัยก่อนหน้าที่พบความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อแดงกับเบาหวานชนิดที่ 2 แต่งานวิจัยนี้ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ป่วยเบาหวานจำนวนมากในระยะยาว ยิ่งยืนยันความเชื่อมโยงดังกล่าวด้วยความแม่นยำมากขึ้น
อันตรายของเนื้อแดงและเนื้อแดงแปรรูป
เบาหวานไม่เพียงเป็นภาระสุขภาพที่รุนแรงเท่านั้น แต่นักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพของผู้เข้าร่วม 216,695 คน จากโครงการวิจัย Nurses’ Health Study (NHS), NHS II และ Health Professionals Follow-up Study (HPFS) โดยมีการเก็บข้อมูลการบริโภคอาหารทุก 2–4 ปี เป็นระยะเวลาสูงสุดถึง 36 ปี ในช่วงเวลาดังกล่าว มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่า 22,000 คน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่บริโภคเนื้อแดง (ทั้งแปรรูปและไม่แปรรูป) ในปริมาณมาก มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สูงกว่าผู้ที่บริโภคน้อย
-
เนื้อแดงแปรรูป (เช่น เบคอน) วันละ 1 มื้อ เพิ่มความเสี่ยง 46%
-
เนื้อแดงไม่แปรรูป (เช่น เนื้อวัวหรือหมูธรรมดา) วันละ 1 มื้อ เพิ่มความเสี่ยง 24%
การเปลี่ยนเนื้อแดงวันละ 1 มื้อด้วยอาหารอื่นๆ
-
ถั่วและพืชตระกูลถั่ว ความเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2 ลดลง 30%
-
ผลิตภัณฑ์นม ความเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2 ลดลง 22%
“จากงานวิจัยนี้และงานก่อนหน้า แนะนำให้จำกัดเนื้อแดงเหลือเพียง 1 มื้อต่อสัปดาห์ สำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพในระยะยาว” ศ. Walter Willett ผู้เขียนอาวุโส
เนื้อแดงแปรรูป
กลไกที่เป็นไปได้ที่เชื่อมโยง “เนื้อแดง” กับ “เบาหวานชนิดที่ 2”
1.ไขมันอิ่มตัวสูง & ไขมันดีต่ำ
- เนื้อแดงมีไขมันอิ่มตัวสูงและมีไขมันไม่อิ่มตัวต่ำ อาจส่งผลต่อความไวของอินซูลิน
2.โปรตีนจากสัตว์และ BCAA สูง
-
โปรตีนจากสัตว์มีกรดอะมิโนสายโซ่กิ่ง (BCAA) สูง เช่น ลิวซีน ไอโซลิวซีน วาลีน
-
งานวิจัยบางฉบับพบว่า การได้รับ BCAA สูงอาจทำให้ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน
3.จุลินทรีย์ในลำไส้ (gut microbiota)
-
จุลินทรีย์ในลำไส้จะเปลี่ยน โคลีน และ แอล-คาร์นิทีน (ซึ่งพบมากในเนื้อแดง) เป็นสาร TMA
-
TMA ระดับสูงเชื่อมโยงกับความเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2
4.วิธีปรุงเนื้อ
-
การปิ้งย่างหรือใช้ความร้อนสูงในการปรุงเนื้อ อาจก่อให้เกิดสาร AGEs (Advanced Glycation End Products)
-
สารนี้อาจทำให้เซลล์เสียหาย เกิดการอักเสบ และเพิ่มความเสี่ยงภาวะดื้อต่ออินซูลิน
5.ธาตุเหล็กสูงเกินไป
-
เนื้อแดงเป็นแหล่งธาตุเหล็กที่ดี โดยเฉพาะ เหล็กฮีม (จากสัตว์)
-
แต่ถ้าได้รับมากเกิน อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้เช่นกัน
คำแนะนำ: กินเนื้อแดงให้น้อยลง
รายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา การบริโภคเนื้อสัตว์ทั่วโลกเพิ่มขึ้น แม้บางประเทศที่ร่ำรวย เช่น สหราชอาณาจักร มีแนวโน้มบริโภคเนื้อแดงคงที่หรือเริ่มลดลง แต่โดยรวมยังคงสูง ในสหราชอาณาจักร แนะนำให้รับประทานเนื้อแดงไม่เกิน 70 กรัม/วัน (น้ำหนักปรุงแล้ว)
-
ลดขนาดชิ้นที่กิน
-
จัด “วันไม่กินเนื้อสัตว์” สักวันในสัปดาห์ เช่น “Meat-Free Monday”
-
หลีกเลี่ยง เนื้อแปรรูป อย่างเบคอนหรือไส้กรอก
-
แทนเนื้อแดงบางส่วนด้วย ไก่ ปลา ถั่ว เลนทิล หรือพืชตระกูลถั่วอื่น ๆ
-
เมื่อกินเนื้อแดง เลือกวิธี ต้ม ตุ๋น หรือนึ่ง แทนการปิ้งย่างหรือนาบกระทะ
-
การแทนที่เนื้อแดงด้วยโปรตีนจากพืช อาจช่วยลดความเสี่ยงเบาหวานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม