ยูนิเซฟระบุ สภาพอากาศสุดขั้วทำให้เด็ก 242 ล้านคนขาดเรียนในปี 2024

2 months ago 51
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

รายงานจากยูนิเซฟระบุว่า เด็กทั่วโลกกว่า 242 ล้านคนใน 85 ประเทศต้องหยุดเรียนหนังสือในปีที่แล้วเนื่องจากภาวะคลื่นความร้อน พายุไซโคลน น้ำท่วมและสภาพอากาศสุดโต่งอื่น ๆ

รายงานดังกล่าวเปิดเผยว่า สถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในปีที่ผ่านมา เด็กวัยเรียน 1 ใน 7 คนทั่วโลกต้องขาดเรียน ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งเพราะปัญหาสภาพอากาศที่เป็นอันตราย

แคเธอรีน รัสเซลล์ ผู้อำนวยการยูนิเซฟ ระบุในแถลงการณ์ว่า เด็ก ๆ นั้นเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางมากกว่าเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ด้านสภาพภูมิอากาศทั้งหลาย เช่น คลื่นความร้อน พายุ ภัยแล้งหรืออุทักภัยที่รุนแรงและเกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่าในอดีต โดยระบุว่า “ร่างการของเด็กนั้น ... ร้อนขึ้นเร็วกว่า ออกเหงื่อได้น้อยกว่า และเย็นตัวลงได้ช้ากว่าผู้ใหญ่ เด็กยังไม่สามารถมีสมาธิในห้องเรียนที่ไม่มีระบบช่วยรับมือกับความร้อนที่พุ่งสูงได้ และก็ไม่สามารถเดินทางไปเรียนได้ ถ้าเกิดน้ำท่วม หรือโรงเรียนถูกน้ำพัดพาหายไป”

สภาพอากาศรุนแรงที่รายงานนี้พูดถึงมีอาทิ น้ำท่วมหนักในปากีสถานเมื่อเดือนเมษายน คลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นหลังน้ำท่วมหนักในอัฟกานิสถานในเดือนพฤษภาคม ภาวะแล้งที่ลากยาวหลายเดือนในทางใต้ของแอฟริกาอันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญ และพายุไซโคลนชิดาที่กระหน่ำมายอด ดินแดนของฝรั่งศเสในมหาสมุทรอินเดียเมื่อเดือนธันวาคม เป็นต้น

แฟ้มภาพ - ผู้หญิงคนหนึ่งใช้ผ้าส่าหรีคลุมหน้าเด็กเพื่อบังแดด ในวันกลางฤดูร้อน ในเมืองไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย เมื่อ 30 เม.ย. 2567
แฟ้มภาพ - ผู้หญิงคนหนึ่งใช้ผ้าส่าหรีคลุมหน้าเด็กเพื่อบังแดด ในวันกลางฤดูร้อน ในเมืองไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย เมื่อ 30 เม.ย. 2567

รายงานจากยูนิเซฟประเมินว่า ราว 74% ของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อจากสภาพอากาศสุดโต่งในปี 2024 นั้นมาจากประเทศรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ภาวะดังกล่าวยังคงเป็นสิ่งที่สร้างผลกระทบร้ายแรงต่อประเทศที่ยากจนที่สุดต่อไป

นอกจากนั้น ยูนิเซฟยังระบุด้วยว่า โรงเรียนและระบบการศึกษาทั่วโลกนั้น “ส่วนใหญ่ยังไม่มีความสามารถมากพอ” ที่จะรับมือกับผลกระทบของสภาพอากาศสุดโต่ง

  • ที่มา: เอพี

กระดานความเห็น

Please enable JavaScript to view the comments powered by Disqus.
Read Entire Article