ศจ.ฮาร์วาร์ด เผยเคล็ดลับมื้อเช้า ที่ช่วยย้อนวัย "ลดอายุชีวภาพ" เด็กลงได้ถึง 10 ปี!!!

8 hours ago 5
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

ศาสตราจารย์ฮาร์วาร์ดเผย “เคล็ดลับมื้อเช้า” ช่วยลดอายุชีวภาพลงได้ถึง 10 ปี

เดวิด ซินแคลร์ (David Sinclair) ศาสตราจารย์จากศูนย์วิจัยชีววิทยาการสูงวัย พอล เอฟ. เกลนน์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เปิดเผยว่า เขาสามารถลด “อายุชีวภาพ” ของตัวเองลงได้ถึง 10 ปี ด้วยการปฏิบัติตามกิจวัตรประจำวันอย่างเคร่งครัด โดยหนึ่งในเคล็ดลับที่เขายึดถือมาตลอดคือการ “งดมื้อเช้า”

แม้ผู้ใหญ่ทั่วไปในสหราชอาณาจักรจะมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 80 ปี แต่ศาสตราจารย์ซินแคลร์เชื่อว่า การชะลอวัยหรือแม้แต่การย้อนวัยก็สามารถทำได้ หากเราดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี

ข่าวดีคือไม่ว่าเราจะเริ่มต้นเมื่อไหร่ ก็ยังทันเสมอในการชะลอนาฬิกาชีวิต” ซินแคลร์ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร GQ เมื่อปี 2023 พร้อมเสริมว่า เขาเริ่มต้นดูแลตัวเองตั้งแต่อายุประมาณ 30 ปี

เขาเปิดเผยว่า หนึ่งในกุญแจสำคัญคือการ “งดอาหารเช้า” และใช้วิธีอดอาหารเป็นช่วงเวลา (Intermittent Fasting) โดยพยายามเว้นช่วงการกินอาหารให้นาน 16-18 ชั่วโมงต่อวัน

อายุชีวภาพกับอายุจริงต่างกันอย่างไร?

ศาสตราจารย์ซินแคลร์อธิบายว่า “อายุชีวภาพ” คืออายุของเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย ไม่ใช่แค่อายุที่นับตามวันเกิดหรือที่เรียกว่า “อายุปฏิทิน” หากอายุชีวภาพสูงกว่าอายุจริง หมายถึงสุขภาพของคุณอาจเสื่อมถอยเร็วกว่าที่ควรจะเป็น

ในวัย 55 ปี เขาเผยว่าอายุชีวภาพของตนอยู่ที่เพียง 44 ปีเมื่อสองปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการเริ่มปรับพฤติกรรมสุขภาพตั้งแต่ช่วงวัย 30 ปี

ต้องย้ำว่า งานวิจัยยังมีความเห็นหลากหลาย

แม้ว่างานวิจัยบางชิ้นจะระบุว่า การงดอาหารเช้าอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจหรือโรคอ้วน แต่ข้อมูลจาก Healthline ระบุว่า การอดอาหารแบบเป็นช่วงเวลา อาจช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพดีขึ้นในระยะยาว ช่วยลดน้ำหนัก และปรับสมดุลการเผาผลาญพลังงาน

นักวิจัยจากฮาร์วาร์ดเองก็เคยระบุว่า การเว้นช่วงระหว่างมื้ออาหารเป็นแนวทางที่ดีในการช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกัน ดร.วัลเตอร์ ลองโก (Valter Longo) จากสถาบันวิจัยการมีอายุยืน มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย แนะนำว่า หากจะทำ Intermittent Fasting ควรจำกัดเวลาการกินให้อยู่ภายใน 12 ชั่วโมงต่อวัน เช่น เริ่มกินหลัง 8 โมงเช้า และหยุดก่อน 2 ทุ่ม

ลดน้ำตาล-ทานสารต้านอนุมูลอิสระ

อีกหนึ่งสิ่งที่ศาสตราจารย์ซินแคลร์ให้ความสำคัญคือการหลีกเลี่ยงน้ำตาล โดยเฉพาะน้ำตาลที่เติมเพิ่มในอาหาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคอ้วน โรคหัวใจ และโรคร้ายแรงอื่น ๆ

ล่าสุด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาค้นพบว่า “ไกลโคเจน” ซึ่งเป็นรูปแบบของน้ำตาลอย่างหนึ่ง อาจกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอดอย่างรวดเร็ว ราวกับเป็น “ลูกอมขนาดยักษ์” สำหรับเซลล์มะเร็งเลยทีเดียว

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ซินแคลร์ยังรับประทาน เรสเวอราทรอล (Resveratrol) สารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่เชื่อว่ามีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง และชะลอวัย

“ผมคิดว่าการกิน 3 มื้อพร้อมของว่างมันมากเกินไป” เขากล่าวในปี 2023 พร้อมเน้นว่า การมีช่วงเวลาที่ร่างกายได้พักจากการย่อยอาหารในแต่ละวัน ตั้งแต่วัย 20 ปี จะเป็นการวางรากฐานสุขภาพที่ดีในระยะยาว

Read Entire Article