สมมง! "ราชินีผักพื้นบ้าน" ใบอร่อยไม่ขม สรรพคุณไม่ใช่แค่พื้นๆ ต้านมะเร็ง แคลเซียมสูง

4 weeks ago 10
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

รู้จัก "ราชินีผักพื้นบ้าน" ประโยชน์สมมง สรรพคุณไม่ใช่แค่พื้นๆ มีสารต้านมะเร็ง ใบเขียวแต่ไม่ขม เมนูอร่อยภาคใต้

ผักเหลียง หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า “ผักเหมียง” หรือ “ผักเขรียง” ได้รับฉายาว่า ราชินีผักพื้นบ้าน เพราะนอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงแล้ว ยังเป็นพืชท้องถิ่นที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวใต้มายาวนาน หาง่ายตามตลาดท้องถิ่น ปลูกง่าย โตเร็ว และใช้เวลาปลูกเพียง 1-2 ปีก็สามารถเก็บเกี่ยวยอดอ่อนมาประกอบอาหารหรือจำหน่ายได้แล้ว จึงได้รับความนิยมจากทั้งผู้บริโภคและเกษตรกร

ผักเหลียงเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 1-4 เมตร ใบเรียวยาว สีเขียวเข้ม โดยสามารถรับประทานได้ทั้งใบและยอดอ่อน โดยต้องนำมาปรุงสุกก่อน ต้นกำเนิดของผักเหลียง พบได้ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และทางภาคใต้ของไทย เช่น ระนอง ชุมพร ประจวบฯ กระบี่ ภูเก็ต พังงา ฯลฯ

สารอาหารแน่น อุดมไปด้วยวิตามิน

จากข้อมูลโภชนาการ 100 กรัมของใบเหลียง ประกอบด้วยสารอาหารสำคัญ ได้แก่:

  • พลังงาน 400 กิโลแคลอรี

  • แคลเซียม 1,500 มก.

  • เบต้าแคโรทีน 1,089 ไมโครกรัม (มากกว่าใบตำลึง และเกือบเท่าแครอท)

  • โปรตีน 6.56 กรัม

  • วิตามินเอ, บี 1, บี 2, ไนอะซิน และอื่น ๆ

ถือเป็นผักพื้นบ้านที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมากเมื่อเทียบกับผักทั่วไป

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

งานวิจัยระบุว่า “ใบเหลียง” มีฤทธิ์ทางยา เช่น

  • ต้านอนุมูลอิสระ

  • ต้านเชื้อแบคทีเรีย

  • ลดน้ำตาลในเลือด

  • ต้านการอักเสบ

  • ต้านเซลล์มะเร็ง

  • ยับยั้งเอนไซม์ Acetylcholinesterase (เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์)

ประโยชน์ของผักเหลียง

  • บำรุงสายตา : ผักเหลียงมีเบต้าแคโรทีนในปริมาณสูง ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันภาวะสายตาเสื่อม ลดโอกาสเกิดต้อกระจก และภาวะจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ

  • เสริมกระดูกให้แข็งแรง : แคลเซียมในผักเหลียงสูงกว่านมวัวหลายเท่า จึงมีประโยชน์ต่อการเสริมสร้างกระดูกและฟัน เหมาะกับทุกช่วงวัย โดยเฉพาะเด็กที่ต้องการเสริมการเจริญเติบโต และผู้สูงอายุที่ต้องการป้องกันโรคกระดูกพรุน

  • ดูแลหัวใจและหลอดเลือด : สารต้านอนุมูลอิสระในผักเหลียงช่วยลดการอักเสบภายในหลอดเลือด ลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือด และช่วยให้ระบบหมุนเวียนเลือดทำงานดีขึ้น เหมาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูง

  • บำรุงสมองและระบบประสาท : ผักเหลียงอุดมด้วยวิตามินบีหลายชนิด เช่น บี1 บี2 และไนอะซิน ซึ่งช่วยบำรุงระบบประสาท ทำให้สมองปลอดโปร่ง ลดอาการเหน็บชา และอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ได้ในระยะยาว

  • เสริมภูมิคุ้มกัน ต้านมะเร็ง : เบต้าแคโรทีนและสารต้านอนุมูลอิสระในผักเหลียงช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ลดการกลายพันธุ์ของเซลล์ และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิด

การใช้ประโยชน์จากผักเหลียง

  • ปรุงอาหาร: ใบอ่อนเมื่อนำมาปรุงสุกจะนุ่มอร่อย หวานมัน เหมาะกับเมนูผัด ต้ม แกงต่างๆ

  • กินสดเวลาเดินป่า: ใบเหลียงช่วยดับหิว ช่วยเพิ่มพลัง

  • เมล็ด: ใช้คั่วกินได้คล้ายถั่ว หรือบดทำข้าวเกรียบในมาเลเซีย

  • ไม้ประดับ: ปลูกในกระถาง เป็นพืชประดับบ้านได้ดีเพราะใบเขียวสด

  • สมุนไพรพื้นบ้าน: บำรุงสายตา รักษาโรคซาง ยางลำต้นใช้ทาลอกฝ้า

  • ผลสุก: รสหวาน กินได้ และเป็นอาหารสัตว์ป่า

  • อนุรักษ์ดินน้ำ: ช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน เพิ่มความชุ่มชื้น

  • สร้างรายได้: ปลูกแซมในสวนยางหรือปาล์ม เก็บยอดขายเป็นอาชีพเสริมได้ดี

ใบเหลียงผัดไข่

Read Entire Article