สาวหนักแค่ 36 กก. แต่คิดว่าอ้วน เกือบจบชีวิตตัวเอง หลังเห็นคนที่บ้านกิน "ไก่ทอด"

3 months ago 49
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

สาวหนักแค่ 36 กก. แต่คิดว่าตัวเองอ้วน ไม่กล้ากินอาหาร เกือบตัดสินใจจบชีวิตหลังเห็นคนที่บ้านกิน "ไก่ทอด"  

นักเรียนหญิงชั้น ม.6 รายหนึ่งมองว่าตัวเองไม่สวย ทั้งที่มีน้ำหนักเพียง 36 กิโลกรัม แต่กลับคิดว่าตัวเองอ้วน จึงควบคุมอาหารอย่างหนักจนร่างกายซูบผอม และประจำเดือนขาดไป ผู้ปกครองรู้สึกเป็นห่วงอย่างมาก จึงพาเธอไปพบ นพ.หวัง หมิง-ยวี่ หัวหน้าแผนกจิตเวช รพ.มหาวิทยาลัยการแพทย์จีน สาขาซินจู๋ ซึ่งวินิจฉัยว่าเธอเป็น โรคคลั่งผอม (Anorexia Nervosa)

หลังเข้ารับการรักษาเป็นเวลา 2 เดือนกว่า โดยมีการให้อาหารทางหลอดเลือด ให้คำปรึกษาด้านจิตใจ และใช้ยาอย่างเหมาะสม น้ำหนักของเธอค่อย ๆ เพิ่มขึ้น และสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้สำเร็จ

โรคเบื่ออาหารเป็นความผิดปกติทางจิตที่เกี่ยวกับ “ภาพลักษณ์ร่างกาย” ผู้ป่วยมักเกิดจากแรงกดดันจากสังคม ความคาดหวังต่อตัวเองสูง หรือสภาพแวดล้อมในวัยเด็ก ทำให้ควบคุมอาหารและน้ำหนักตัวอย่างรุนแรง หากปล่อยไว้นานอาจนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหาร ฮอร์โมนผิดปกติ โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้

หมอหวังกล่าวว่า ผู้ป่วยโรคนี้มักมีความรู้สึกขัดแย้งในใจ ต้องการการสนับสนุนจากครอบครัวอย่างอ่อนโยนแต่มั่นคง ตัวอย่างเช่น เมื่อคนไข้กลับบ้านในวันเกิดของน้องชาย ครอบครัวกำลังสนุกกับการกินไก่ทอด เฟรนช์ฟรายส์ และไอศกรีม แม้เธอจะอยากกินมาก แต่กลับไม่กล้ากินจนคิดสั้น พ่อแม่จึงรีบพาเธอไปรับการรักษาโดยใช้การกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็ก (TMS) เพื่อลดความวิตกกังวลและอารมณ์เศร้า พร้อมกับให้ยาร่วมกับการฟื้นฟูโภชนาการ

ต่อมาเธอสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ และมีโอกาสเข้าสังคมมากขึ้น เริ่มกล้ากินอาหารแคลอรีสูงกับเพื่อน เช่น มื้อดึกหรือของหวาน และค่อย ๆ เปลี่ยนมุมมองว่าอาหารไม่ใช่ศัตรู และรูปร่างไม่ใช่คุณค่าเพียงอย่างเดียวของตัวเอง ทำให้เริ่มกินอาหารได้สม่ำเสมอมากขึ้น

นอกจากนี้ เธอยังเข้าร่วมชมรมอาสา ทำให้ค้นพบความมั่นใจและความภาคภูมิใจในตัวเอง ความวิตกกังวลเกี่ยวกับหน้าตาและน้ำหนักค่อย ๆ หายไป และประจำเดือนที่เคยขาดหายไปนานกว่า 1 ปีก็กลับมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าร่างกายของเธอกลับมาเป็นปกติแล้ว

หมอหวังอธิบายว่า เมื่อร่างกายผอมมากเกินไป ระบบอวัยวะหลายส่วนจะหยุดทำงานชั่วคราว โดยเฉพาะมดลูกและรังไข่ เพราะร่างกายรับรู้ว่า “ยังเลี้ยงตัวเองไม่รอด จะมีลูกได้อย่างไร” ดังนั้นการที่ประจำเดือนกลับมาถือเป็นสัญญาณสำคัญว่า ร่างกายฟื้นตัวและ “จบการรักษา” จากโรคเบื่ออาหารแล้ว

ท้ายที่สุด ผู้ป่วยได้เขียนจดหมายพร้อมส่งดอกไม้ขอบคุณทีมแพทย์ และกล่าวว่า “ตอนนี้หนูได้ลิ้มรสอาหารอร่อย ๆ มากมายแล้วค่ะ”

Read Entire Article