หมอเตือนอีก "กินปลา 2 ชนิดนี้" เสี่ยงกระทบสมองถาวร ระดับปรอทเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า!

2 weeks ago 13
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

แพทย์เตือน! หลีกเลี่ยง “ปลาทูน่า” และ “ปลาฉลาม” เพื่อลดความเสี่ยงสารปรอทสะสมในสมอง อาจทำลายเซลล์ประสาทและกระทบความจำ-สมองแบบถาวร และควรใส่ใจการรับสารพิษจากอาหาร น้ำ และควันบุหรี่ในชีวิตประจำวัน

มลพิษจากโลหะหนักได้กลายเป็นภัยเงียบที่คุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า มากถึง 87% ของประชากรมีโลหะหนักตกค้างในร่างกายในระดับต่างๆ กัน ขณะที่แพทย์ชาวไต้หวันได้ออกมาเตือนว่า ถึงแม้ผู้คนในปัจจุบันจะให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพจากพฤติกรรมก้มหน้ามองจอนานๆ แต่กลับละเลยภัยเงียบที่ใกล้ตัวอย่าง “โลหะหนัก” ซึ่งแฝงอยู่ในอาหารและสิ่งแวดล้อมรอบตัว อาจสร้างผลกระทบต่อระบบประสาทอย่างรุนแรงโดยไม่รู้ตัว

นพ.เซียะ ปิ่งเซียน (Dr. Hsieh Ping-Hsien) ศัลยแพทย์ระบบประสาทแห่งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยหยางหมิงเจียวทง ในไต้หวัน  โพสต์เตือนภัยผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่ามีผลวิจัยพบว่า ประชาชนมากถึง 87% มีสารโลหะหนักตกค้างในร่างกาย ซึ่งอาจสะสมจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาทแบบถาวรได้ 

ปรอทคือพิษร้ายแรงที่สุดต่อระบบประสาท เขาอธิบายว่า ปรอทสามารถผ่านแนวกั้นเลือด-สมองได้โดยตรง และสะสมในสมอง ส่งผลให้สายตาและการได้ยินลดลง ประสานงานของร่างกายแย่ลง ความจำเสื่อม และเกิดความผิดปกติทางการรับรู้ โดยเฉพาะในผู้ที่บริโภคปลาที่มีปรอทสูงทุกวัน อาจมีระดับปรอทในสมองสูงกว่าคนปกติถึง 5–10 เท่า

สำหรับเด็ก ตะกั่วในโลหะหนักถือเป็น “ฆาตกรเงียบ” ที่คุกคามพัฒนาการทางสติปัญญา งานวิจัยพบว่า หากระดับตะกั่วในเลือดเพิ่มขึ้นทุก 10 ไมโครกรัม/เดซิลิตร ค่า IQ ของเด็กจะลดลงเฉลี่ย 4–5 คะแนน และผลกระทบนี้อาจคงอยู่ถาวร ส่วนในผู้ใหญ่ การได้รับตะกั่วสะสมเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดโรคระบบประสาทส่วนปลาย มีอาการชา มือเท้าไม่มีแรง

โดยกล่าวถึง 4 สารพิษจากโลหะหนัก ที่พบได้บ่อยและเป็นอันตรายสูง ได้แก่

  • ตะกั่ว (Lead): โดยเฉพาะในเด็ก ตะกั่วสามารถแทรกซึมเข้าไปในเซลล์ประสาทเลียนแบบแคลเซียม ทำให้ระบบสื่อสารของเซลล์ทำงานผิดปกติ แม้ได้รับในปริมาณน้อยก็อาจทำให้เด็กมีปัญหาสมาธิสั้น เรียนรู้ช้า หรือพฤติกรรมผิดปกติ ส่วนในผู้ใหญ่ อาจเกิดอาการมือเท้าชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง และโรคระบบประสาทส่วนปลาย

  • ปรอท (Mercury): มีคุณสมบัติทะลุผ่านแนวกั้นเลือดและสมอง (blood-brain barrier) เข้าไปสะสมในสมองได้ หากบริโภคปลาที่มีสารปรอทสูงเป็นประจำ เช่น ปลาทูน่า หรือปลาฉลาม ระดับสารปรอทในสมองอาจสูงกว่าปกติถึง 5–10 เท่า ส่งผลให้เกิดอาการทรงตัวไม่ดี ความจำเสื่อม ความรู้สึกผิดปกติ หรือการมองเห็นและได้ยินแปรปรวน

  • สารหนู (Arsenic): มักมากับน้ำดื่ม โดยเฉพาะในรูปแบบสารหนูอนินทรีย์ ซึ่งเชื่อมโยงกับโรคระบบประสาทส่วนปลาย และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคพาร์กินสันและอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยมักรู้สึกชา ปวดแสบปวดร้อน และกล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • แคดเมียม (Cadmium): พบได้จากควันบุหรี่และอาหารบางชนิด ส่งผลต่อการสื่อสารของเซลล์ประสาท โดยรบกวนสมดุลแคลเซียมในเซลล์ ทำให้การเรียนรู้ ความจำ และอารมณ์เปลี่ยนไป หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับแคดเมียมมาก อาจส่งผ่านไปยังทารก ทำให้เกิดปัญหาพัฒนาการทางระบบประสาท

แพทย์แนะนำด้วยว่า เพื่อป้องกันอันตรายจากโลหะหนักต่อสุขภาพ คุณหมอยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคปลาทะเลน้ำลึกขนาดใหญ่บ่อยๆ เช่น ปลาทูน่า และปลาฉลาม  ซึ่งมักสะสมสารปรอทในปริมาณสูง นอกจากนี้ควรเลือกบริโภคผักผลไม้ออร์แกนิก ใช้เครื่องกรองน้ำที่ได้มาตรฐาน หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และเพิ่มการรับประทานผักผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อช่วยลดผลกระทบจากสารพิษที่สะสม

ท้ายที่สุด นพ.เซียะ เน้นย้ำว่า หากสงสัยว่าตนเองอาจสัมผัสสารโลหะหนัก และเริ่มมีอาการผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ความจำเสื่อม มือเท้าชา หรือสมาธิสั้น ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาโดยเร็วที่สุด

Read Entire Article