เตือนภัย "ยาแก้ปวดในตำนาน" ทำสาวกระเพาะทะลุ 15 รู คนนิยมกิน แต่หมอไม่แนะนำ

10 hours ago 2
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

 เตือนภัย "ยาแก้ปวดในตำนาน" สาวกระเพาะทะลุ 15 รู เหมือนโดนกระสุนลูกปรายยิง คนนิยมกิน แต่หมอไม่แนะนำ

หลายคนที่ไปเที่ยวญี่ปุ่นมักจะแวะร้านขายยาหรือร้านดรักสโตร์เพื่อซื้อของกลับบ้าน โดยเฉพาะ “ยาแก้ปวดในตำนาน” ที่เป็นตัวเลือกยอดฮิตของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม นายแพทย์ เซียว ตุนเหริน (蕭敦仁) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร ได้ออกมาเตือนผ่านรายการว่า มีหญิงวัย 35 ปี คนหนึ่งที่กินยาแก้ปวดญี่ปุ่นถึง 4-5 เม็ด เพราะต้องการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน แต่กลับส่งผลให้ปวดท้องอย่างรุนแรง เมื่อตรวจด้วยกล้องส่องกระเพาะพบว่า กระเพาะทะลุเป็นรูใหญ่ถึง 15 จุด และมีเลือดออกด้วย จึงแนะนำว่าประชาชนควรปรึกษาแพทย์และได้รับใบสั่งยาก่อนใช้ยากลุ่มนี้

นายแพทย์เซียวเล่าว่า หญิงวัย 35 ปี รายนี้ปกติมักมีอาการปวดประจำเดือน จึงจะกิน “ยาแก้ปวดญี่ปุ่น” วันละ 1–2 เม็ดเพื่อบรรเทาอาการ แต่วันหนึ่งอาการปวดรุนแรงมาก จึงกินติดต่อกันถึง 4–5 เม็ด หลังจากนั้นอาการปวดได้ลามจากท้องน้อยขึ้นมาท้องส่วนบน ทำให้เธอตกใจและรีบไปพบแพทย์ เมื่อตรวจด้วยกล้องส่องกระเพาะก็พบว่ากระเพาะของเธอทะลุเป็นรูถึง 15 แห่ง และมีเลือดออกมาก

นายแพทย์เซียวอธิบายว่า ยาแก้ปวดญี่ปุ่นที่เธอกินนั้นจัดอยู่ในกลุ่มยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ซึ่งมีส่วนผสมของ “ไอบูโพรเฟน” (Ibuprofen) ที่สามารถทำลายชั้นเมือกในกระเพาะอาหารได้ หากชั้นเมือกถูกทำลาย กรดในกระเพาะจะทำร้ายเยื่อบุกระเพาะเหมือนกับลูกปรายยิงใส่ผนังกระเพาะ

เขาจึงเตือนว่า ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของไอบูโพรเฟนไม่ควรกินเองตามใจชอบ ควรได้รับการสั่งจ่ายโดยแพทย์จะปลอดภัยกว่า และเขายังเสริมว่า ในบ้านของเขาเองจะเตรียมแค่ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของ “พาราเซตามอล”  เท่านั้น แต่ถึงอย่างไร ก็ยังควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะหากใช้มากเกินไปก็อาจส่งผลต่อการทำงานของตับได้เช่นกัน

นอกจากนี้ เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไต้หวันยังระบุว่า ยาแก้ปวดญี่ปุ่นที่มีไอบูโพรเฟน อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ภาวะโลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเม็ดเลือด (aplastic anemia), ภาวะเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ และในบางรายอาจเกิด “กลุ่มอาการสตีเวนส์-จอห์นสัน” (Stevens-Johnson Syndrome) ซึ่งเป็นปฏิกิริยารุนแรงที่ผิวหนัง

ทาง อย. ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า ยาแก้ปวดในท้องตลาดทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ยาแก้ปวดที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น พาราเซตามอล

  2. ยาแก้ปวดกลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น แอสไพริน และไอบูโพรเฟน

ซึ่งใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะ ปวดประจำเดือน หรือปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น โดยยาเหล่านี้มักมีอยู่ในยาลดไข้หรือยาหวัดแบบผสมต่าง ๆ ที่ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการสร้างพรอสตาแกลนดินในระบบประสาท แต่การใช้เกินขนาดอาจทำลายตับได้ จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

Read Entire Article