เหยื่อคอลเซนเตอร์เมียนมานับพันเผชิญกระบวนการส่งตัวกลับประเทศที่เชื่องช้า

1 month ago 19
❤️ ARTICLE AD BOX ❤️

ความร่วมมือระหว่างทางการไทย จีนและเมียนมาในการปรามปรามแก๊งคอลเซนเตอร์มากมายตามแนวชายแดนไทย-เมียนมานำมาซึ่งการช่วยเหลือเหยื่อนับพันคนที่มาจากเกือบ 30 ประเทศ ขณะที่ กระบวนการส่งตัวบุคคลเหล่านี้กลับประเทศกลายมาเป็นความท้าทายครั้งใหญ่แล้ว อ้างอิงข้อมูลจากโฆษกของกองกำลังติดอาวุธรักษาชายแดนของกะเหรี่ยง หรือ BGF (Karen Border Guard Force)

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว BGF ซึ่งเป็นพันธมิตรของรัฐบาลทหารเมียนมา ดำเนินการช่วยอพยพผู้คนกว่า 6,000 คนจากศูนย์คอลเซนเตอร์ต่าง ๆ ในเมืองชเว ก๊กโก เมืองที่สร้างใหม่ในรัฐกะเหรี่ยงติดชายแดนไทย

พันโท นาย เมา ซอว์ โฆษกของกองกำลังดังกล่าว บอกกับผู้สื่อข่าว วีโอเอ ภาษาพม่า เมื่อวันอังคาร ว่า แม้ว่าหลายคนจะได้รับอิสรภาพมาแล้ว กระบวนการส่งตัวกลับประเทศนั้นมีความซับซ้อนและเดินหน้าไปอย่างช้า ๆ โดยระบุว่า “เดิมที เรามีแผนจะส่งคนกลับวันละ 1,000 คน แต่ตอนนี้ เราสามารถส่งกลับไปเพียงครั้งละไม่กี่ร้อยคน” และว่า “ที่ผ่านมา มีการนำส่งคนไปยังไทยแล้ว 673 คน”

ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติระบุว่า แก๊งอาชญากรทั้งหลายหลอกลวงพาผู้คนนับแสนมากักขังและบีบบังคับให้ทำงานตามศูนย์คอลเซนเตอร์ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงที่ตั้งอยู่ตามชายแดนฝั่งเมียนมา

ภาพของผู้ที่อ้างว่าเป็นคนงานและเหยื่อของแก๊งคอลเซนเตอร์ที่ได้รับการช่วยเหลือออกมาโดยกองกำลังติดอาวุธรักษาชายแดนของกะเหรี่ยง หรือ BGF นั่งอยู่ใกล้ ๆ กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและไอทีที่ถูกรื้อถอดออกมา ในปฏิบัติการปรามปรามในเมืองชเว ก๊กโก ทางตะวันออกของเมียนมา เมื่อ 19 ก.พ. 2568
ภาพของผู้ที่อ้างว่าเป็นคนงานและเหยื่อของแก๊งคอลเซนเตอร์ที่ได้รับการช่วยเหลือออกมาโดยกองกำลังติดอาวุธรักษาชายแดนของกะเหรี่ยง หรือ BGF นั่งอยู่ใกล้ ๆ กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและไอทีที่ถูกรื้อถอดออกมา ในปฏิบัติการปรามปรามในเมืองชเว ก๊กโก ทางตะวันออกของเมียนมา เมื่อ 19 ก.พ. 2568

ขณะเดียวกัน ผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือให้เป็นอิสระจากเงื้อมมือของแก๊งเหล่านี้จำนวนหลายพันคนยังคงต้องใช้ชีวิตอยู่ในค่ายหลบภัยชั่วคราวในเมียนมา ระหว่างรอกระบวนการตรวจสอบของกองทัพอยู่

ทั้งนี้ กระบวนการดังกล่าวต้องได้รับความร่วมมือจากหลายประเทศที่พลเมืองของตนตกเป็นเหยื่อแก๊งอาชญากรรมที่ว่า

พันโท นาย เมา ซอว์ กล่าวว่า ฝ่ายเมียนมาจัดให้การส่งตัวเหยื่อแก๊งเหล่านี้ที่ได้รับการช่วยเหลือมากลับประเทศเป็นภารกิจที่มีความสำคัญในลำดับต้น ๆ แล้ว พร้อม ระบุว่า เหยื่อกลุ่มใหญ่ที่สุดนั้นมาจากประเทศจีน ตามมาด้วย อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ไต้หวัน ปากีสถาน อินเดีย ยูกันดา เอธิโอเปีย เนปาล ไทย รวันดา เคนยา กัมพูชาและกานา โดยยังมีพลเมืองของประเทศอื่น ๆ อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ทำให้ตัวเลขประเทศที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการส่งตัวกลับอยู่ที่เกือบ 30 ประเทศไปโดยปริยาย

ฝ่ายรัฐบาลไทยกล่าวว่า กำลังเร่งทำงานอย่างใกล้ชิดกับเมียนมาและนานาประเทศเพื่อให้เหยื่อแก๊งคอลเซนเตอร์ทั้งหมดได้กลับคืนสู่ประเทศบ้านเกิดโดยปลอดภัย โดยขณะนี้ มีบุคคลที่ได้รับความช่วยเหลือมาแล้วกว่า 7,000 คนที่อยู่ในกระบวนการเตรียมส่งกลับของไทยอยู่

ภาพชาวเอธิโอเปียที่เป็นเหยื่อแก๊งคอลเซนเตอร์ในเมียนมาหลังถูกหลอก จับไปขังและบังคับให้ทำงานที่ศูนย์ในเมียนมา ก่อนจะได้รับความช่วยเหลือและพาตัวมาไทยเมื่อ 12 ก.พ. 2568 เปิดแผลและร่อยรอยการบาดเจ็บจากการถูกทำร้ายเมื่อทำงานไม่ถึงเป้า
ภาพชาวเอธิโอเปียที่เป็นเหยื่อแก๊งคอลเซนเตอร์ในเมียนมาหลังถูกหลอก จับไปขังและบังคับให้ทำงานที่ศูนย์ในเมียนมา ก่อนจะได้รับความช่วยเหลือและพาตัวมาไทยเมื่อ 12 ก.พ. 2568 เปิดแผลและร่อยรอยการบาดเจ็บจากการถูกทำร้ายเมื่อทำงานไม่ถึงเป้า

อย่างไรก็ดี พันโท นาย เมา ซอว์ เปิดเผยว่า จะมีการหยุดพักปฏิบัติการบุกค้นและปรามปรามคอลเซนเตอร์ในปลายเดือนนี้ ในช่วงที่มีการประเมินว่า ยังมีผู้ที่ถูกอาชญากรเหล่านั้นคุมตัวไว้อยู่หลายหมื่นคน และต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าส่งเหยื่อทั้งหมดกลับประเทศ

บทบาทจีนในการปรามปรามอาชญากรรมไซเบอร์

ที่ผ่านมา จีนเป็นผู้นำทีมปรามปรามและทลายเครือข่ายสแกมเมอร์ออนไลน์ที่มีปฏิบัติการตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา พร้อม ๆ กับใช้แรงกดดันทางการทูตควบคู่กับการเดินหน้าแผนความร่วมมือกับรัฐบาลกรุงเทพฯ และรัฐบาลเนปิดอว์ไปด้วย

เมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว กระทรวงความมั่นคงสาธารณะจีนประกาศการส่งตัวกลับชาวจีนจำนวน 200 คนที่ได้รับความช่วยเหลือจากคอลเซนเตอร์ต่าง ๆ และคาดว่า จะมีการช่วยเหลือคนได้อีกมาก แต่สื่อซินหัวรายงานว่า บุคคลกลุ่มที่ว่าถูกเรียกว่าเป็น “ผู้ต้องสงสัยในคดีฉ้อโกงคอลเซนเตอร์" ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ทางการจีนมองคนเหล่านี้ว่าอาจะเป็นอาชญากรมากกว่าเป็นเหยื่อ

ภาพที่สำนักข่าวซินหัวเผยแพร่ออกมาแสดงให้เห็นพลเมืองจีนกลุ่มหนึ่งที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมฉ้อโกงและแก๊งคอลเซนเตอร์ ขณะถูกตำรวจจีนในเมืองนานจิงนำตัวไปลงจากเครื่องบิน หลังถูกส่งตัวกลับมาจากไทย เมื่อ 20 ก.พ. 2568
ภาพที่สำนักข่าวซินหัวเผยแพร่ออกมาแสดงให้เห็นพลเมืองจีนกลุ่มหนึ่งที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมฉ้อโกงและแก๊งคอลเซนเตอร์ ขณะถูกตำรวจจีนในเมืองนานจิงนำตัวไปลงจากเครื่องบิน หลังถูกส่งตัวกลับมาจากไทย เมื่อ 20 ก.พ. 2568

และนอกจากการทลายและช่วยเหลือเหยื่อแล้ว ทางการจีนยังดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้ที่เชื่อว่าเป็นตัวการสำคัญใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมไซเบอร์ข้ามชาติด้วย

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จีนได้นำตัวสมาชิกครอบครัวหมิงซึ่งมีอิทธิพลในเมืองโกก้างของเมียนมา ขึ้นดำเนินคดีในศาลที่เมืองเวิ่นโจว ขณะที่ มีจำเลยที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาฆาตกรรม ฉ้อโกงและรีดไถ ถึง 23 คน ที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของชาวจีน 14 คนและการหาประโยชน์ทางการเงินที่ผิดกฎหมายเป็นมูลค่ากว่า 1,400 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา

ขณะเดียวกัน เห็นได้ชัดว่า มีการยกระดับความเข้มข้นของปฏิบัติการดังกล่าวในช่วงที่ผ่านมา โดยมีทั้งการตัดเสบียงก๊าซและน้ำมันของไทยไปในเมียนมาเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ไปจนถึงการส่งกำลังทหารเข้าไปจัดการกับเครือข่ายอาชญากรทั้งหลาย

เจสัน ทาวเวอร์ ผู้อำนวยการด้านเมียนมาของ U.S. Institute of Peace บอกกับ วีโอเอ เมื่อวันจันทร์ว่า การตัดไฟ เชื้อเพลิงและอินเทอร์เน็ตของทางการไทย รวมทั้งการส่งกำลังทหารไทยเข้าจัดการกับแก๊งเหล่านี้ในช่วงที่ผ่านมาเป็น “แผนงานปราบปรามที่แข็งกร้าวที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา”

แต่แม้จะมีการดำเนินมาตรการอันแข็งกร้าวต่าง ๆ ขบวนการอาชญากรรมคอลเซนเตอร์ยังคงมีอยู่ต่อไป หลังแก๊งต่าง ๆ ย้ายฐานปฏิบัติการของตนไปยังที่ตั้งใหม่ เช่น กัมพูชา ลาว และดูไบ ตามความเห็นของ เจสัน ทาวเวอร์ ผู้อำนวยการด้านเมียนมาของ U.S. Institute of Peace

ภาพที่กองกำลังติดอาวุธรักษาชายแดนของกะเหรี่ยง หรือ BGF บันทึกเมื่อ 24 ก.พ. 2568 แสดงให้เห็นการปฏิบัติงานปรามปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับแก๊งคอลเซนเตอร์ที่เมืองเมียวดี ประเทศเมียนมา
ภาพที่กองกำลังติดอาวุธรักษาชายแดนของกะเหรี่ยง หรือ BGF บันทึกเมื่อ 24 ก.พ. 2568 แสดงให้เห็นการปฏิบัติงานปรามปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับแก๊งคอลเซนเตอร์ที่เมืองเมียวดี ประเทศเมียนมา

ความท้าทายและการเดินหน้าปราบปราม

แต่แม้จะมีการดำเนินมาตรการอันแข็งกร้าวต่าง ๆ ขบวนการอาชญากรรมคอลเซนเตอร์ยังคงมีอยู่ต่อไป หลังแก๊งต่าง ๆ ย้ายฐานปฏิบัติการของตนไปยังที่ตั้งใหม่ เช่น กัมพูชา ลาว และดูไบ ตามความเห็นของ เจสัน ทาวเวอร์ ผู้อำนวยการด้านเมียนมาของ U.S. Institute of Peace

ขณะเดียวกัน การที่ผู้เกี่ยวข้องไม่น้อยสามารถลอยนวลพ้นผิดไปได้ก็เป็นปัญหาใหญ่อีกข้อ เพราะแม้จะมีการจับกุมและดำเนินคดีกับตัวการสำคัญไปได้จำนวนหนึ่งในช่วงปี 2023-2024 เจ้าพ่ออาชญากรหลายคนยังคงรอดพ้นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไปได้ โดยมีข้อมูลที่ระบุว่า เครือข่ายฉ้อโกงนั้นกลับมารุ่งโรจน์โดยไม่ถูกตรวจสอบเท่าใดเลยตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา โดยเฉพาะในกัมพูชาที่ยังมีการเคลื่อนไหวของอาชญากรเหล่านี้อยู่

ทาวเวอร์กล่าวทิ้งท้ายว่า “หากไม่มีการประสานงานด้านข่าวกรองกันอย่างดีแล้ว เครือข่ายเหล่านี้ก็จะเดินหน้าปรับตัวหนีกฎหมายได้เรื่อย ๆ ต่อไป”

  • ที่มา: วีโอเอ

กระดานความเห็น

Please enable JavaScript to view the comments powered by Disqus.
Read Entire Article